วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

กรอบแนวคิดที่The STUDIES Model


บทที่ 1

The STUDIES Model : การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

          การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามรูปแบบ The STUDIES Model มีจุดหมายสำคัญเพื่อตอบสนองหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทางพัฒนาวิชาชีพครู ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 9 (4) ที่ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐาน วิชาชีพ คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
          รูปแบบ The STUDIES Model มุ่งพัฒนานักศึกษาวิชาชีพครูให้มีความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะความเป็นครูตามมาตรฐานวิชาชีพ ตามที่ครุสภาได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพไว้และสอดคล้องกับแนวคิดอาจารย์มืออาชีพ แนวคิด เครื่องมือ และการพัฒนา( ไพฑูรย์ สินลารัตน์ 2550 บรรณาธิการ เครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย )ในการปรับปรุงคุณภาพด้านการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาในประเด็นการพัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นสัมฤทธิ์ผลในการปรับปรุงศักยภาพการเรียนของนักศึกษาผ่านกระบวนการเรียนการสอนเป็นหลัก

กรอบแนวคิดที่มา The STUDIES Model
          รูปแบบ The STUDIES Model เป็นผลสืบเนื่องจากการศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ศึกษาวิเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐในการจัดการศึกษายุค Thailand 4.0 หรือยุคการศึกษา 4.0 มาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์(Constructivist Learning Method : CLM) การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design of Instruction ; UDI) การวัดผลการเรียนรู้ การกำหนดระดับความเข้าใจ ในการกำหนดค่าระดับคุณภาพการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy ผลการศึกษาวิจัยดีรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ที่เรียกว่า The STUDIES Model มีรายละเอียดกรอบแนวคิด (The STUDIES Model framework) 

ดังแผนภาพประกอบที่ 1



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช  ผู้จั...