วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อัธยาตมวิทยา : ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน


   นิรมล   ตีรณสาร สวัสดิบุตร( 2548: 7- 8)  ได้กล่าวไว้ว่าหนังสืออัธยาตมวิทยาหมายถึงความรู้เกี่ยวกับจิตใจของคน ซึ่งเป็นความรู้ที่เป็นครูจำเป็นต้องรู้เพราะทำงานกับคน เป็นตำราวิชาครูของกรมศึกษาธิการ เขียนโดย คุณจรัสชวนะพันธ์ พิมพ์เผยแพร่ในปี ร.ศ. 125 อาจารย์ผู้สอนวิชาจิตวิทยาการศึกษาในสถาบันผลิตครูควรอ่านและเชิญชวนให้นิสิตนักศึกษาอ่านด้วยและเสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่าในการเขียนตำราควรอ่านและปรับปรุงตำราให้ทันสมัยเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม พยายามให้ได้ใจความและเลือกสรรเฉพาะที่จำเป็นสำหรับครูจริงๆตลอดจนการใช้วิธีเขียนและภาษาที่เข้าใจง่ายเช่นเดียวกับตำราอัธยาตมวิทยาแสดงตัวอย่างไว้หนังสืออัธยาตมวิทยาแบ่งเป็นตอนใหญ่ๆ
        1 วิทยาศาสตร์แห่งร่างกายและวิทยาศาสตร์แห่งจิตใจครูที่ดีจะต้องรู้อาการของจิตใจนักเรียนให้ละเอียด เหมือนแพทย์ที่ดีต้องดูอาการของร่างกายคนไข้
         2. ลักษณะทั้ง 3 ของจิตใจ(ความสะเทือนใจ ความรู้  ความตั้งใจ)มีการแบ่งชั้นของความเจริญของจิตใจไว้ตามชั้นคือ อายุ 1-7 ปี  7-14 ปีและ 14-21 ปีซึ่งเป็นช่วงอายุของคนมีลูกศิษย์ของครูอาจารย์
         3. ความสนใจ มี 2 ชนิดคือที่เกิดขึ้นเองและที่ต้องทำให้เกิดขึ้น
         4. ความพิจารณาการเปรียบเทียบเห็นชัดเจนว่าเด็กในกรุงเทพกับเด็กบ้านนอกมีความพิจารณาต่างกันอย่างไร และครู เด็กทั้ง 2 พวกนี้ควรส่งเสริมเด็กต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำที่น่าสนใจสำหรับครูในการสอนวิชาต่างๆ  เช่น ภูมิศาสตร์ ไวยากรณ์ พงศาวดาร การเขียนลายมือและวาดรูป
         5. ความเจริญของอาการทั้งห้า(รู้สึก เห็น ฟัง  ชิม ดม )การกล่าวถึงหน้าที่ของครูให้หัดอาการทั้ง 5 และบอกวิธีหัดอาการบางชนิดไว้ด้วย เช่น หัดให้รู้จักสี หัดให้รู้จักรูป หัดให้รู้จักหนทางไกล หัดให้รู้จักรูปด้วยการสัมผัส  หัดอาการตามด้วยการอ่าน-ด้วยเพลง หัดอาการดมและอาการชิม
         6. ความจำมีเรื่องลืมสนิทและลืมไม่สนิท จำได้และนึกออก ชนิดของความจำและเรื่องที่ครูควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง คือ สิ่งที่ครูควรถึงเป็นหลักในเวลาจะให้นักเรียนจำ สิ่งที่ควรให้นักเรียนท่องขึ้นใจและสิ่งที่ไม่ควรให้นักเรียนท่อง
        7.ความคิดคำนึง วิธีฝึกหัดความคิดคำนึงให้ดีขึ้นมีการเสนอว่าบทเรียนที่ควรฝึกหัดความคิด คำนึงของเด็กให้ดีที่สุดคือ พงศาวดารและภูมิศาสตร์ และแม้แต่หนังสือเรื่องยักษ์หรือผีสางเทวดาที่ผู้ใหญ่เห็นว่าไร้สาระก็ช่วยหัดให้เด็กมีความคิดคำนึงได้
         8. ความตกใจเกิดจากอาการ 2 อย่าง คือ การเปรียบเทียบและการลงความเห็นมีตัวอย่างบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความตกลงใจ เช่น การเขียนหนังสือและวาดรูปบทเรียนสำหรับหัดมือการกระจายประโยคตามไวยากรณ์ เลข การเล่นออกแรง
         9. ความวิเคราะห์มีการแสดงตัวอย่างวิธีสอน 2 แบบคือ แบบคิดค้นและแบบคิดสอบ มีการเปรียบเทียบให้ดูว่าคิดค้นกับคิดศอกต่างกันอย่างไรและมีประโยชน์แก่การศึกษาต่างกันอย่างไร ครูจะได้เลือกว่าเมื่อใดควรให้นักเรียนคิดค้น เมื่อใดให้คิดสอบ และมีตัวอย่างวิธีสอนเรื่องกริยาวิเศษที่แสดงขั้นตอนการสอนให้ดู 11 ขั้นตอนซึ่งเป็นการคิดค้นและต่อด้วยอีก 2 ขั้นตอนซึ่งเป็นการคิดสอบการใช้วิธีสอนรวมกันทั้งคิดค้นและคิดตอบเช่นนี้ ท่านเรียกว่าวิธีสำเร็จและบอกว่าเป็นวิธี กว่าวิธีอื่นๆ
         10. ความเข้าใจมีการให้ตัวอย่างคำจำกัดความลักษณะแห่งความเข้าใจและบอกวิธีสอนที่จะทำให้เด็กเข้าใจได้ดีซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนาวิชาอัธยาตมวิทยาต่อมาเป็นวิชาจิตวิทยาในหลักสูตรผลิตครูในหลายสถาบันคือเรียนรู้หลักสูตรวิชาจิตวิทยาที่จะเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช  ผู้จั...