รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์
กรอบความคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ เพื่อเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
จากการศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยจึงนำมาสู่การสังเคราะห์เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามกรอบความคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ เพื่อเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ดังนี้
หลักการและเป้าหมาย
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ มุ่งพัฒนานักเรียนได้มีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยครูผู้สอนเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้นักเรียนได้เผชิญกับสถานการณ์ปัญหาที่สัมพันธ์กับเนื้อหาของบทเรียนและสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน นักเรียนได้แก้ปัญหาเป็นรายบุคคลด้วยวิธีที่หลากหลาย เนื่องจากข้อมูลความรู้ที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอหรือไม่สอดคล้องกับปัญหาที่ได้รับ ทำให้เกิดการพิจารณาไตร่ตรองหาข้อมูลมาเพิ่มเติม โดยการอธิบาย ถกเถียงแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
การจัดสถานการณ์ให้เกิดการสร้างความรู้นี้ ทำให้นักเรียนได้นำความรู้เดิมมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ มีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นความรู้ที่มีความหมายสำหรับนักเรียน ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้กระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการคิดค้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือชี้แนะและตรวจสอบความคิดของนักเรียนกิจกรรมการเรียนการสอนที่สังเคราะห์ขึ้นมีองค์ประกอบ ดังนี้
จุดมุ่งหมาย
1 เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้มโนทัศน์ การคิดคำนวณและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
2 เพื่อให้นักเรียนได้สำรวจและเผชิญความคิดของตนเอง
3 เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสในการแก้ปัญหาอย่างอิสระและมีเหตุผล
4 เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักแนวทางในการแก้ปัญหาหลายๆวิธี
5 เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงและขยายความคิดของตนเอง โดยการแก้ปัญหาที่นักเรียนสนใจและตรวจสอบคำตอบที่คาดคิดไว้
6 เพื่อให้นักเรียนตระหนักว่าความคิดที่แท้จริงของตนเองนั้นมีความหมายและมีคุณค่า
7 เพื่อให้นักเรียนได้มีการสะท้อนกลับอย่างมีวิจารณญาณและพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวิธีการที่ได้มาซึ่งคำตอบด้วยวิธีการที่รวดเร็ว
8 เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากบทเรียนไปใช้กับสถานการณ์ใหม่ได้
องค์ประกอบ
การพัฒนามโนทัศน์ การพัฒนาทักษะและการพัฒนาการแก้ปัญหาหรือการนำความรู้ไปใช้ใน
สถานการณ์ปัญหาอื่นๆ ซึ่งได้นำมาจัดไว้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ที่สังเคราะห์ขึ้น มีดังนี้
1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ซึ่งเป็นขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของนักเรียน โดยการทบทวนความรู้เดิมและพยายามกระตุ้นให้นักเรียนระลึกถึงประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเนื้อหาใหม่ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสร้างสถานการณ์ ยกตัวอย่าง ใช้เกม ใช้คำถาม ฯลฯ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเรียนเนื้อหาใหม่และเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา ครูผู้สอนจะต้องค้นหาและระลึกถึงความรู้และประสบการณ์เดิมของนักเรียน เพราะถ้านักเรียนสามารถระลึกถึงประสบการณ์เดิมได้มากนักเรียนจะมีข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลายได้มาก ดังนั้นนักเรียนจะต้องแสดงออกมาให้ครูผู้สอนเห็นว่าแต่ละคนมีความรู้พื้นฐานเดิมในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใดเพื่อเป็นการทดสอบความคิดรวบยอดความรู้เดิมที่สัมพันธ์กับเนื้อหาใหม่ หลังจากนั้นครูผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
2 ขั้นสอน
2.1 ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหา ซึ่งเป็นแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล ครูผู้สอนเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัญหาที่สัมพันธ์กับบทเรียนและสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เหมาะสมกับวัยและความสามารถของนักเรียนเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งนักเรียนทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหา โดยใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมที่ครูผู้สอนเตรียมให้ ครูผู้สอนกระตุ้นให้นักเรียนพยายามสำรวจหาวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายเป็นรายบุคคล โดยใช้คำถามในลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งทำให้นักเรียนนำความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องที่เคยเรียนมาใช้ในการแก้ปัญหา
2.2 ขั้นกิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย เป็นขั้นตอนที่สมาชิกในกลุ่มย่อย เสนอแนวทางแก้ปัญหาของตนเองที่อาจเป็นไปได้ต่อกลุ่มย่อย ครูผู้สอนจะต้องพยายามกระตุ้นให้นักเรียนสะท้อนความคิดออกมา เพราะการสะท้อนความคิดเป็นการแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจของนักเรียนว่ามีมากน้อยเพียงใด ที่ช่วยให้สมาชิกเห็นแนวทางแก้ปัญหาของคนอื่นมากยิ่งขึ้น โดยใช้สื่อรูปธรรม ทดลองและปฏิบัติให้เห็นจริงมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จากนั้นให้เพื่อนๆช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องความสมเหตุสมผลจากการได้ปฏิบัติจริง มีการนำวิธีการของนักเรียนแต่ละคนในกลุ่มมาลองใช้กับสถานการณ์ตัวอย่าง ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มอาจมีวิธีการในการแก้ปัญหามากกว่า 1 วิธี เพื่อเสนอต่อทั้งชั้น
2.3 เสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อทั้งชั้นเป็นขั้นตอนที่กลุ่มย่อยเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและแสดงให้เห็นจริงถึงความสมเหตุสมผล ในขั้นนี้กลุ่มย่อยจะมีส่วนช่วยทำให้ทุกคนมีความพร้อมที่จะนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อทั้งชั้น พร้อมทั้งตอบข้อซักถามและชี้แจงเหตุผล นักเรียนทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายและตรวจสอบถึงความถูกต้องและเหมาะสมในแนวทางการแก้ปัญหาประเมินทางเลือกถึงข้อดีข้อจำกัดของแต่ละทางเลือกและสรุปแนวทางเลือกทั้งหมด เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์อื่นๆ ซึ่งครูผู้สอนต้องพร้อมที่จะรับฟังความหลากหลายและการให้เหตุผลที่แปลก ซึ่งอาจจะช่วยให้นักเรียนคนอื่นๆเกิดความเข้าใจมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนไม่ควรปฏิเสธคำตอบหรือคำอธิบายของนักเรียนควรให้โอกาสนักเรียนที่ตอบคลาดเคลื่อนไปจากความคาดหวังของครูผู้สอน อาจเป็นอีกทางหนึ่งที่นักเรียนได้สร้างขึ้นและช่วยให้ครูผู้สอนได้มีโอกาสตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนและถ้าครูผู้สอนมีวิธีการอื่นๆนอกเหนือจากที่นักเรียนนำเสนอไปแล้วแต่นักเรียนไม่ได้นำเสนอครูผู้สอนสามารถเพิ่มเติมได้อีก
3 ขั้นสรุปนักเรียนร่วมกันสรุปหลักการและกระบวนการแก้ปัญหา ในเรื่อง ที่เรียนและครูผู้สอนช่วยเสริมแนวคิดหลักการความคิดรวบยอดและกระบวนการแก้ปัญหาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
4 ขั้นฝึกทักษะและนำไปใช้ เป็นขั้นที่ให้นักเรียนฝึกทักษะจากใบงานที่ครูผู้สอนสร้างขึ้นที่มีสถานการณ์ที่หลากหลายหรือที่นักเรียนสร้างสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับสถานการณ์เดิม นักเรียนเลือกทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและสามารถอธิบายวิธีแก้ปัญหาของตนเองได้ โดยให้เพื่อนในกลุ่มช่วยกันตรวจสอบคำตอบที่ถูกต้องจากบัตรเฉลย นักเรียนแต่ละคนอาจจะเลือกใช้วิธีการในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน ซึ่งการฝึกทักษะจะช่วยให้นักเรียนมี
ความคงทนในการจำและเกิดความคล่องแคล่วแม่นยำรวดเร็วและพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล ครูผู้สอนจะต้องดูแลและให้ความช่วยเหลือในกรณีที่นักเรียนเกิดความขัดแย้งหาข้อสรุปไม่ได้ จากนั้นให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดจากบทเรียน
5 ขั้นประเมินผล ขั้นนี้จะประเมินผลจากการทำใบงาน จากการทำแบบฝึกหัดในบทเรียนและจากสถานการณ์ที่นักเรียนสร้างขึ้น นอกจากนั้นครูผู้สอนอาจใช้การสังเกตในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อเป็นการตรวจสอบระดับความรู้ของนักเรียนในเรื่องที่เรียนว่านักเรียนมีความรู้ความสามารถตามเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้หรือไม่มากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นข้อมูลในการสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่ยังไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ก่อนที่จะทำการสอนเนื้อหาอื่นๆต่อไป
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ ซึ่งจำแนกตามบทบาทและพฤติกรรมของครูผู้สอนและนักเรียนได้ตามตารางที่ 1
จากการศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยจึงนำมาสู่การสังเคราะห์เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามกรอบความคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ เพื่อเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ดังนี้
หลักการและเป้าหมาย
จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ มุ่งพัฒนานักเรียนได้มีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยครูผู้สอนเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้นักเรียนได้เผชิญกับสถานการณ์ปัญหาที่สัมพันธ์กับเนื้อหาของบทเรียนและสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน นักเรียนได้แก้ปัญหาเป็นรายบุคคลด้วยวิธีที่หลากหลาย เนื่องจากข้อมูลความรู้ที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอหรือไม่สอดคล้องกับปัญหาที่ได้รับ ทำให้เกิดการพิจารณาไตร่ตรองหาข้อมูลมาเพิ่มเติม โดยการอธิบาย ถกเถียงแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
การจัดสถานการณ์ให้เกิดการสร้างความรู้นี้ ทำให้นักเรียนได้นำความรู้เดิมมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ มีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นความรู้ที่มีความหมายสำหรับนักเรียน ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้กระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการคิดค้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ อำนวยความสะดวก ช่วยเหลือชี้แนะและตรวจสอบความคิดของนักเรียนกิจกรรมการเรียนการสอนที่สังเคราะห์ขึ้นมีองค์ประกอบ ดังนี้
จุดมุ่งหมาย
1 เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้มโนทัศน์ การคิดคำนวณและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้
2 เพื่อให้นักเรียนได้สำรวจและเผชิญความคิดของตนเอง
3 เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสในการแก้ปัญหาอย่างอิสระและมีเหตุผล
4 เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักแนวทางในการแก้ปัญหาหลายๆวิธี
5 เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงและขยายความคิดของตนเอง โดยการแก้ปัญหาที่นักเรียนสนใจและตรวจสอบคำตอบที่คาดคิดไว้
6 เพื่อให้นักเรียนตระหนักว่าความคิดที่แท้จริงของตนเองนั้นมีความหมายและมีคุณค่า
7 เพื่อให้นักเรียนได้มีการสะท้อนกลับอย่างมีวิจารณญาณและพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวิธีการที่ได้มาซึ่งคำตอบด้วยวิธีการที่รวดเร็ว
8 เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากบทเรียนไปใช้กับสถานการณ์ใหม่ได้
องค์ประกอบ
การพัฒนามโนทัศน์ การพัฒนาทักษะและการพัฒนาการแก้ปัญหาหรือการนำความรู้ไปใช้ใน
สถานการณ์ปัญหาอื่นๆ ซึ่งได้นำมาจัดไว้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ที่สังเคราะห์ขึ้น มีดังนี้
1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ซึ่งเป็นขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของนักเรียน โดยการทบทวนความรู้เดิมและพยายามกระตุ้นให้นักเรียนระลึกถึงประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเนื้อหาใหม่ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสร้างสถานการณ์ ยกตัวอย่าง ใช้เกม ใช้คำถาม ฯลฯ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเรียนเนื้อหาใหม่และเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา ครูผู้สอนจะต้องค้นหาและระลึกถึงความรู้และประสบการณ์เดิมของนักเรียน เพราะถ้านักเรียนสามารถระลึกถึงประสบการณ์เดิมได้มากนักเรียนจะมีข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลายได้มาก ดังนั้นนักเรียนจะต้องแสดงออกมาให้ครูผู้สอนเห็นว่าแต่ละคนมีความรู้พื้นฐานเดิมในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใดเพื่อเป็นการทดสอบความคิดรวบยอดความรู้เดิมที่สัมพันธ์กับเนื้อหาใหม่ หลังจากนั้นครูผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
2 ขั้นสอน
2.1 ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหา ซึ่งเป็นแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล ครูผู้สอนเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัญหาที่สัมพันธ์กับบทเรียนและสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เหมาะสมกับวัยและความสามารถของนักเรียนเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งนักเรียนทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหา โดยใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมที่ครูผู้สอนเตรียมให้ ครูผู้สอนกระตุ้นให้นักเรียนพยายามสำรวจหาวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายเป็นรายบุคคล โดยใช้คำถามในลักษณะสร้างสรรค์ ซึ่งทำให้นักเรียนนำความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องที่เคยเรียนมาใช้ในการแก้ปัญหา
2.2 ขั้นกิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย เป็นขั้นตอนที่สมาชิกในกลุ่มย่อย เสนอแนวทางแก้ปัญหาของตนเองที่อาจเป็นไปได้ต่อกลุ่มย่อย ครูผู้สอนจะต้องพยายามกระตุ้นให้นักเรียนสะท้อนความคิดออกมา เพราะการสะท้อนความคิดเป็นการแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจของนักเรียนว่ามีมากน้อยเพียงใด ที่ช่วยให้สมาชิกเห็นแนวทางแก้ปัญหาของคนอื่นมากยิ่งขึ้น โดยใช้สื่อรูปธรรม ทดลองและปฏิบัติให้เห็นจริงมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จากนั้นให้เพื่อนๆช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องความสมเหตุสมผลจากการได้ปฏิบัติจริง มีการนำวิธีการของนักเรียนแต่ละคนในกลุ่มมาลองใช้กับสถานการณ์ตัวอย่าง ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนั้นในแต่ละกลุ่มอาจมีวิธีการในการแก้ปัญหามากกว่า 1 วิธี เพื่อเสนอต่อทั้งชั้น
2.3 เสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อทั้งชั้นเป็นขั้นตอนที่กลุ่มย่อยเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและแสดงให้เห็นจริงถึงความสมเหตุสมผล ในขั้นนี้กลุ่มย่อยจะมีส่วนช่วยทำให้ทุกคนมีความพร้อมที่จะนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อทั้งชั้น พร้อมทั้งตอบข้อซักถามและชี้แจงเหตุผล นักเรียนทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายและตรวจสอบถึงความถูกต้องและเหมาะสมในแนวทางการแก้ปัญหาประเมินทางเลือกถึงข้อดีข้อจำกัดของแต่ละทางเลือกและสรุปแนวทางเลือกทั้งหมด เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์อื่นๆ ซึ่งครูผู้สอนต้องพร้อมที่จะรับฟังความหลากหลายและการให้เหตุผลที่แปลก ซึ่งอาจจะช่วยให้นักเรียนคนอื่นๆเกิดความเข้าใจมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนไม่ควรปฏิเสธคำตอบหรือคำอธิบายของนักเรียนควรให้โอกาสนักเรียนที่ตอบคลาดเคลื่อนไปจากความคาดหวังของครูผู้สอน อาจเป็นอีกทางหนึ่งที่นักเรียนได้สร้างขึ้นและช่วยให้ครูผู้สอนได้มีโอกาสตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนและถ้าครูผู้สอนมีวิธีการอื่นๆนอกเหนือจากที่นักเรียนนำเสนอไปแล้วแต่นักเรียนไม่ได้นำเสนอครูผู้สอนสามารถเพิ่มเติมได้อีก
3 ขั้นสรุปนักเรียนร่วมกันสรุปหลักการและกระบวนการแก้ปัญหา ในเรื่อง ที่เรียนและครูผู้สอนช่วยเสริมแนวคิดหลักการความคิดรวบยอดและกระบวนการแก้ปัญหาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
4 ขั้นฝึกทักษะและนำไปใช้ เป็นขั้นที่ให้นักเรียนฝึกทักษะจากใบงานที่ครูผู้สอนสร้างขึ้นที่มีสถานการณ์ที่หลากหลายหรือที่นักเรียนสร้างสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับสถานการณ์เดิม นักเรียนเลือกทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและสามารถอธิบายวิธีแก้ปัญหาของตนเองได้ โดยให้เพื่อนในกลุ่มช่วยกันตรวจสอบคำตอบที่ถูกต้องจากบัตรเฉลย นักเรียนแต่ละคนอาจจะเลือกใช้วิธีการในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน ซึ่งการฝึกทักษะจะช่วยให้นักเรียนมี
ความคงทนในการจำและเกิดความคล่องแคล่วแม่นยำรวดเร็วและพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล ครูผู้สอนจะต้องดูแลและให้ความช่วยเหลือในกรณีที่นักเรียนเกิดความขัดแย้งหาข้อสรุปไม่ได้ จากนั้นให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดจากบทเรียน
5 ขั้นประเมินผล ขั้นนี้จะประเมินผลจากการทำใบงาน จากการทำแบบฝึกหัดในบทเรียนและจากสถานการณ์ที่นักเรียนสร้างขึ้น นอกจากนั้นครูผู้สอนอาจใช้การสังเกตในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อเป็นการตรวจสอบระดับความรู้ของนักเรียนในเรื่องที่เรียนว่านักเรียนมีความรู้ความสามารถตามเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้หรือไม่มากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นข้อมูลในการสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่ยังไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ก่อนที่จะทำการสอนเนื้อหาอื่นๆต่อไป
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ ซึ่งจำแนกตามบทบาทและพฤติกรรมของครูผู้สอนและนักเรียนได้ตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 บทบาท / พฤติกรรมครูผู้สอนและบทบาท / พฤติกรรมนักเรียนตามกระบวนการเรียนการสอน ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์
กิจกรรม
การเรียนการสอน
|
บทบาท / พฤติกรรมครูผู้สอน
|
บทบาท / พฤติกรรมนักเรียน
|
|||
ขั้นที่ 1 ขั้นนำ
ขั้นที่ 2 ขั้นสอน
2.1 ขั้นเผชิญสถานการณ์ที่
เป็นปัญหา
2.2 ขั้นกิจกรรมไตร่ตรองระดับ
กลุ่มย่อย
|
-จัดกิจกรรมเร้าความความสนใจ
-ครูผู้สอนกระตุ้นให้นักเรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่อง
ที่เรียน
-สำรวจ ค้นหาความคิดของนักเรียนเกี่ยวกับ
เรื่องที่เรียนโดยใช้คำถาม
-เสนอสถานการณ์ปัญหา
-แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
-เสนอสถานการณ์ปัญหาที่สอดคล้องกับเนื้อหา
และชีวิตประจำวัน
-จัดประสบการณ์ที่เป็นแรงจูงใจให้ศึกษา
-ตั้งคำถามและกระตุ้นให้นักเรียนสำรวจ คิดค้น
และหาวิธีแก้ปัญหาหลายๆวิธีเป็นรายบุคคล
-ใช้คำถามในลักษณะสร้างสรรค์
-สำรวจความคิดของนักเรียน
-ช่วยให้นักเรียนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้
-จัดเตรียมสื่อรูปธรรมให้พร้อมทุกกลุ่ม
-สังเกตการปฏิบัติกิจกรรม
-กระตุ้นให้อธิบายสิ่งที่นักเรียนคิดและสร้างขึ้น
-ให้โอกาสนักเรียนได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา
ด้วยตนเอง
-ตีความและอธิบายความคิดเห็นของนักเรียน
ให้แจ่มแจ้ง
-ช่วยนักเรียนทำความเข้าใจความคิดของ
ตนเองให้ชัดเจนและพิจารณาความคิดของ
ตนเองให้รอบคอบ
-เรียนรู้ความคิด ประสบการณ์และความสนใจ
ของนักเรียน
-สนับสนุนให้กล้าตัดสินใจในการแก้ปัญหา
-ให้คำชมเชยและให้กำลังใจนักเรียนที่พยายาม
ค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา
|
-แสดงพฤติกรรมเพื่อค้นหาความรู้ที่มีอยู่เดิม
ของนักเรียนที่เกี่ยวกับมโนทัศน์นั้นๆ โดย
การอธิบาย
-เข้าร่วมกิจกรรม
-เผชิญสถานการณ์ปัญหา
-ทำความเข้าใจปัญหาจนเข้าใจ
-สำรวจ คิดค้นความรู้ด้วยตนเอง
-หาแนวทางแก้ปัญหาจากสื่อรูปธรรม
-แก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย
-คิดและถามคำถามเกี่ยวกับมโนทัศน์
ที่เรียน
-ใช้สื่อรูปธรรมเพื่อแสดงการแก้ปัญหา
-รวบรวม อธิบายและแสดงออก ซึ่ง
ความคิดของตนเองว่ารู้อะไรบ้าง
-เสนอแนวทางแก้ปัญหาของตนเอง ที่
อาจเป็นไปได้ต่อกลุ่มย่อย
-อธิบายความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับ
มโนทัศน์ให้ชัดเจน
-สะท้อนความคิดของตนเองและของสมาชิก
-รวบรวมแนวทางแก้ปัญหา
-ตรวจสอบและทดลองแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ
-แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
-เปรียบเทียบความคิดเห็นของตนเอง
กับความคิดเห็นของผู้อื่น
|
|||
|
กิจกรรม
การเรียนการสอน
|
บทบาท / พฤติกรรมครูผู้สอน
|
บทบาท / พฤติกรรมนักเรียน
|
|
|
|
2.3 เสนอทาง
แก้ปัญหาต่อ
ทั้งชั้น
3.สรุป
|
-กระตุ้นและส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยน
แนวคิดซึ่งกันและกัน
-อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นของนักเรียน
-เปิดการอภิปรายให้กว้าง
-ทำให้แน่ใจว่าทุกความคิดเห็นได้รับพิจารณา
-ยอมรับการแสดงความคิดเห็นได้รับพิจารณา
-ยอมรับการแสดงความคิดเห็นของนักเรียน
ที่มีต่อความคิดใหม่และกระตุ้นให้ใช้ความคิดต่อไป
-เป็นผู้ฟังที่ดีไม่ตรวจสอบความคิดของ
นักเรียนทันที
-ตอบข้อสงสัยเมื่อเกิดข้อขัดแย้ง
-นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่นักเรียนยัง
ไม่ได้เสนอเพิ่มเติม
-ส่งเสริมและเปิดอภิปรายให้กว้าง
-กระตุ้นให้มีการร่วมอภิปรายในการแก้ปัญหา
-ช่วยเหลือนักเรียนเท่าที่จำเป็น
-กระตุ้นให้นักเรียนคิดเกี่ยวกับความคิดเห็น
ของนักเรียน
-ช่วยนักเรียนเชื่อมความรู้เก่ากับความรู้ใหม่
-อภิปรายข้อดี-ข้อจำกัดของการแก้ปัญหา
ด้วยวิธีการต่างๆที่ทั้งชั้นให้การยอมรับ
-ตอบคำถามเมื่อนักเรียนสงสัย
-ให้ข้อมูลย้อนกลับ
-ประเมินความคิดของนักเรียนเพื่อ
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
-ใช้คำถามเพื่อสรุปบทเรียน
-รวบรวมความคิดของนักเรียน
|
-แสดงวิธีแก้ปัญหาของกลุ่ม
-เสนอมโนทัศน์ของบทเรียน โดย
สื่อรูปธรรม
-อภิปรายและตอบข้อซักถาม
-ค้นหาข้อดี-ข้อจำกัดในความคิดเห็น
เหล่านั้น
-ตรวจสอบความถูกต้องและ
ความสมเหตุสมผล
-เสนอแนวทางเลือกที่ยังไม่มีกลุ่มใดเสนอ
-ซักถามเมื่อเกิดข้อขัดแย้งและ
ถามครูผู้สอน
เมื่อไม่เข้าใจวิธีการที่ครูผู้สอนนำเสนอ
-แสดงความคิดถึงข้อดี-ข้อจำกัดของวิธีการต่างๆ
ที่กลุ่มยอมรับ
|
|
|
|
กิจกรรม
การเรียนการสอน
|
บทบาท / พฤติกรรมครูผู้สอน
|
บทบาท / พฤติกรรมนักเรียน
|
|
|
|
ขั้นที่ 4 ฝึกทักษะและนำไปใช้
ขั้นที่ 5
ประเมินผล
|
-ช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิด
ความคิดรวบยอดกระบวนการแก้ปัญหาและหลักการที่ถูกต้องให้
ชัดเจนยิ่งขึ้น
-ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ
ความคิดใหม่
-สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคล
และกลุ่มย่อย
-ตรวจสอบการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่
นักเรียนสร้างขึ้น
-ตรวจแบบฝึกหัด
-สังเกตการร่วมกิจกรรม
-เสนอสถานการณ์ที่หลากหลายจากแบบฝึกทักษะ
-ช่วยเหลือเมื่อนักเรียนเกิดข้อสงสัย
-สนับสนุนให้นักเรียนเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม
กับสถานการณ์ปัญหา
-ช่วยเหลือและช่วยแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน
มากยิ่งขึ้น
-แนะนำนักเรียนสิ่งที่นักเรียนต้องการ
ความช่วยเหลือ
-แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจการเรียนการสอน
-จากการทำใบงาน
-จากการทำแบบฝึกหัด
-จากการสร้างสถานการณ์ปัญหา
-สังเกตจากการปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียน
-ประเมินความคิดของนักเรียน
|
-ประเมินทางเลือกให้เหมาะสมกับ
แต่ละสถานการณ์
-ซักถามข้อสงสัย
-ตอบคำถาม
-ร่วมอภิปรายและลงข้อสรุป
-สรุปหลักการและกระบวนการแก้ปัญหา
-ทำแบบฝึกทักษะจากใบงานที่ครูผู้สอนเตรียมมา
-สร้างสถานการณ์ปัญหา
-เลือกทางเลือกที่เหมาะสมโดยใช้
มโนทัศน์เป็นพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ใน
การแก้ปัญหา
-ตรวจสอบความถูกต้องจากบัตรเฉลย
-ตรวจสอบการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่นักเรียนสร้างขึ้น
-ทำแบบฝึกหัดเป็นการบ้าน
-สร้างสถานการณ์ที่เป็นปัญหาที่สัมพันธ์และสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
-ประเมินคำตอบซึ่งกันและกันอย่างมีวิจารณญาณ
-ซักถามเมื่อหาข้อสรุปไม่ได้
-ประเมินตนเองในการคิดอย่างมี
วิจารณญาณ
-มีความรับผิดชอบในการเรียนของตนเอง
|
|
|
จากกรอบแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ขั้นตอนตามภาพประกอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น