วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การวิเคราะห์ภาระงาน(Task Analysis)


บทที่ 3
วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)

T : วิเคราะห์ภาระงาน ศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้ความรู้ (knowledge)ทักษา (Skill) และเจตคติ (Attitude)ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่จุดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-Skill Attitude การวิเคราะห์ภาระงานเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์การเรียนการสอน ซ้ำประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
        1.ตัดสินใจให้ได้ว่าเป็นความต้องการในการสอน มีภาระที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
        2.ต้องการความชัดเจนว่าต้องเรียนรู้เรื่องใดมาก่อน จึงจะนำไปสู่คาดหวัง
        3.การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน จากขั้นที่ 2บอกให้รู้ว่าผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และวัดผลในเรื่องใด

การวิเคราะห์ภาระงาน
        การวิเคราะห์ภาระงานคล้ายคลึงกันกับการวิเคราะห์งานแต่มีระดับของการวิเคราะห์อยู่ที่รายละเอียด-หน่อยย่อย การวิเคราะห์งานทำได้โดยการจำแนกงานออกเป็นภาระงานหลายภาระงาน จากนั้นการวิเคราะห์ภาระก็จะวิเคราะห์ย่อยลงถึงส่วนประกอบ โดยใช้คำถามในการวิเคราะห์เช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์งาน ดังนี้
        ส่วนประกอบของแต่ละภาระงานคืออะไร
        ส่วนประกอบแต่ละส่วนสามารถนำมาเรียงลำดับด้วยอะไรบ้าง
        ส่วนประกอบแต่ละส่วนใช้เวลาเท่าไร
        ขั้นตอนที่จำเป็น(critical steps) คืออะไร และเส้นทางวิกฤติ (critical paths)
        ขั้นตอนที่จำเป็นหมายถึงภาระงานที่ไม่สามารถข้าม ละเว้นไม่ต้องปฏิบัติภาระงานนั้นมิฉะนั้นจะมีผลเสียต่อผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น สืบเนื่องมาจากผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นปัจจัยป้อนให้กับขั้นตอนต่อไปส่วนเส้นทางวิกฤติเป็นผลแต่เนื่องจากขั้นตอนที่จำเป็น เส้นทางวิกฤติมีผลต่อโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จของงานได้และในทำนองเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งก็ได้
        การตัดสินใจเลือกภาระงานต้องคำนึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมที่ดีต้องแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ และต้องสนองจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ไปพร้อมกันการเลือกภาระงานอาจแบ่งภาระงานได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
        1.กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สำหรับการเรียนแบบปกติ
        2.กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สำหรับการฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน
        3.กลุ่มภาระงานที่ไม่จัดไว้ทั้งการเรียนแบบปกติหรือการฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน เช่น ชุดการศึกษาด้วยตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช  ผู้จั...