วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การสอนเพื่อความเข้าใจ : การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนหลับ


       ารกำหนดจุดมุ่งหมายที่พึงประสงค์ในการสอนเพื่อความเข้าใจคือจะพิจารณาว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสิ่งที่มีคุณค่ารู้อะไรบ้างแล้ว จากนั้นกำหนดขอบข่ายแคบลงหน้านักเรียนควรมีสิ่งที่จำเป็นต้องรู้และจำเป็นต้องทำ ในเรื่องใด และควรทำอะไรบ้าง ควรมีความเข้าใจที่ยั่งยืนอะไรบ้าง ผู้จะต้องพิจารณาวิธีการประเมินซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมการเรียนการสอนต้องลุ่มลึกกว่าที่ผ่านมาเป็นอย่าง(ระบุหลักฐานและเกณฑ์ในการประเมินผลชัดเจน)จึงจะสามารถพัฒนาให้เกิดความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้ง

        วิธีการที่จะช่วยให้ครูมีความชัดเจนในเรื่องจดหมายและออกแบบให้มีความสอดคล้องกันระหว่างกิจกรรมการเรียนและจุดมุ่งหมายที่พึงประสงค์ การออกแบบย้อนหลังจะมี 3 ขั้นตอนดังนี้

         1.การกำหนดจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนรู้

         2. การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้บรรลุจุดหมายการเรียนรู้ที่กำหนดไว้

         3. การวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้

        การกำหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้

      สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสาระสำคัญและรู้อะไรกำหนดของทาร่านักเรียนจำเป็นต้องรู้สาระอะไรและจะต้องทำอะไรได้ ผู้เรียนควรทำความเข้าใจในเรื่องใด ควรทำอะไรได้บ้าง และควรมีความเข้าใจที่ลุ่มลึกและยังยืนในเรื่องใด Wiggin ได้เสนอเกณฑ์พิจารณากำหนดจุดหมาย 4 ประการได้แก่
        1.จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นประเด็นที่จะมีคุณค่านอกบริบทการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือไม่ ความเข้าใจที่ยั่งยืนต้องไม่เป็นเพียงข้อมูลหรือทักษะ เฉพาะเครื่องเท่านั้น แต่จะต้องเป็นเรื่องหลัก ประเด็นหลัก ที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ในสถานการณ์อื่นๆนอกห้องเรียน

         2. จุดมุ่งหมาย ในการจัดการเรียนรู้นั้น เป็นหัวใจของศาสตร์ ที่เรียนหรือไม่ นักเรียนควรมีโอกาสผ่านกระบวนการของศาสตร์นั้นๆเกิดขึ้นได้อย่าง

         3. จุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น ต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจเพียงใด มีเนื้อหาสาระเป็นจำนวนมากที่ซับซ้อน ยาก และเป็นนามธรรมเกินที่นักเรียนจะเข้าใจได้ด้วยตนเอง หัวข้อเหล่านี้ นี้ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และควรบรรจุในการเรียนการสอนมากกว่าเนื้อหาที่เข้าใจ ง่าย นักเรียนอาจเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

        4. จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้น เพื่อต่อการมีส่วนร่วมของนักเรียน มีหลายหัวข้อ รายกิจกรรมที่นักเรียนสนใจตามวัยอยู่แล้ว สามารถเลือกมาใช้เพื่อเป็น ประตู ไปส่งเรื่องอื่นที่ใหญ่กว่าหากสามารถเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนไปสู่เรื่องที่นักเรียนสนใจ จะช่วยทำให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องด้วยตนเองต่อไป
แผนการจัดการเรียนรู้

        เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับจุดหมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปประธรรมแล้วผู้สอนสามารถวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้ โดยอาจตั้งคำถามดังต่อไปนี้
        อี๊ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถตามจุดหมายที่กำหนดไว้
        กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนานักเรียนไปสู่จุดหมายดังกล่าว
        สื่อการสอนจึงจะเหมาะสมสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ขั้นต้น
        การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช  ผู้จั...