วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเรียนรู้แบบร่วมมือ


ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือได้รับการยืนยันจากการวิจัยทางการศึกษาวิจัยในผู้เรียนทดลองและในภาคสนาม การศึกษาสหสัมพันธ์ที่แสดงว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือได้ผลในห้องเรียนจริงๆสรุปว่าการวิจัยเชิงสาธิตแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ
         1. การประเมินผลรวม ได้ผลว่าการรู้แบบร่วมมือก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์
         2. การประเมินผลรวมเชิงเปรียบเทียบให้ข้อสรุปว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือดีกว่ากระบวนการเรียนรู้แบบอื่นๆ
         3. การประเมินผลระหว่างเรียนให้ผลที่จุดมุ่งหมายที่การพัฒนาการการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ
         4. การ การศึกษาผลกระทบของการเรียนรู้แบบมีต่อผู้เรียน การเรียนรู้แบบร่วมมืออาจใช้ได้ดีกับทุกระดับชั้นทุกเนื้อหาวิชาและทุกงานความตั้งใจความร่วมมือเป็นความพยายามของมนุษย์โดยทั่วไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ต่างๆทางการศึกษา ผลลัพธ์นี้  Johnson & Johnson  1989 A  สรุปได้เป็น 3 ประเภทคือความพยายามที่จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ สัมพันธภาพทางบวกระหว่างบุคคลและสุขภาพจิตดังภาพประกอบที่4



ภาพประกอบที่ 4 ผลลัพธ์ของการร่วมมือ
ที่มา Johnson & Johnson 1994 The New circles of  learning cooperation In the classroom and School  มานพ ธรรมสาร ผู้แปลกรมวิชาการ 2546:  32

 ทักษะแห่งความร่วมมือ
 Johnson & Johnson   1991 , 1994  กล่าวว่าทักษะระหว่างบุคคลหลายทักษะส่งผลต่อความสำเร็จในความพยายามด้วยกันทักษะแห่งความร่วมมือมี 4 ระดับคือ
1 .ระดับสร้างนิสัยพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้างกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือทำหน้าที่ได้เป็นทักษะเริ่มแรกของทักษะที่ 1 การจัดการเรียนรู้และกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำวิธีการที่สำคัญบางประการเกี่ยวกับทักษะระดับสร้างนิสัยดังตัวอย่างต่อไปนี้
เคลื่อนไหวในกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนเวลาทำงานกลุ่มเป็นสิ่งมีค่าจึงควรใช้เวลาในการจัดโต๊ะเก้าอี้และจัดกลุ่มการเรียนให้น้อยที่สุดตามความจำเป็น นักเรียนอาจจำเป็นต้องฝึกการจัดกลุ่มหลายๆครั้งก่อนที่จะปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
อยู่ประจำกลุ่มนักเรียนเดินไปเดินมาในช่วงที่ผมทำงานไม่ก่อให้เกิดผลดีและยังรบกวนสมาชิกกลุ่มอื่นด้วย
พูดเบาๆแม้ว่ากลุ่มการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มแต่ไม่จำเป็นต้องใช้เสียงดังเกินไปครูอาจมอบหมายให้นักเรียนคนหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้คอยกำกับคนอื่นให้พูดเบาๆ
กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมสมาชิกกลุ่มทุกคนต้องร่วมกันคิดร่วมการใช้สื่อการเรียนและมีส่วนในความพยายามให้กลุ่มบรรลุผล การให้นักเรียนผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม
2. ระดับสร้างบทบาททักษะที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานที่มีประสิทธิผลในหมู่สมาชิกกลุ่ม ทักษะระดับที่ 2 นี้เน้นที่การจัดการความพยายามของกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จและรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานที่มีประสิทธิผลการทำให้สมาชิกกลุ่มจดจ่ออยู่กับการทำงานการหาวิธีดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและการสร้างบรรยากาศการทำงานที่น่าพึงพอใจและเป็นมิตรนั้นถือว่าเป็นการผสมผสานอันสำคัญที่จะนำไปสู่กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีประสิทธิผล
3.ระดับสร้างระบบ เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างความเข้าใจระดับลึกในเนื้อหาวิชาที่เรียนเพื่อส่งเสริมให้มีกลยุทธ์การใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและเพิ่มความเชี่ยวชาญและความคงทนของความรู้ที่ได้จากงานที่ปฏิบัติทักษะระดับที่ 3 นี้ทำให้เกิดกระบวนการทางสมองที่จำเป็นในการสร้างความเข้าใจที่ลึกลงไปในเนื้อหาความรู้ที่เรียนกระตุ้นการใช้กลยุทธ์การให้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและเพิ่มความเชี่ยวชาญและความคงทนของเนื้อหาความรู้ที่เรียน นั่งจากความมุ่งหมายกลุ่มการเรียนรู้คือต้องการเพิ่มการเรียนรู้ของสมาชิกทักษะเหล่านี้มุ่งเป้าหมายเฉพาะไปที่การให้รูปแบบวิชาการในการจัดระเบียบความรู้ที่เรียน ทักษะด้านระบบสามารถดำเนินไปได้ในขณะที่สมาชิกกลุ่มรับบทบาทต่างๆกันบทบาทที่สัมพันธ์กับทักษะเหล่านี้คือ
พูดสรุปย่อเป็นผู้กล่าวสรุปสิ่งที่อ่านหรืออภิปรายให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้ไม่อาศัยห้ามบันทึกหรือสื่อการเรียนต้นฉบับควรสรุปข้อเท็จจริงและความคิดสำคัญทั้งหมดไว้ในการสรุปยอดด้วยสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องสรุปยอดจากความจำเป็นบ่อยๆเพื่อเพิ่มการเรียนรู้
ผู้แก้ไขเป็นผู้ระหว่างความถูกต้องโดยคอยแก้ไขข้อสรุปของทนายและเพิ่มเติมข้อสนเทศที่สำคัญซึ่งไม่ปรากฏในข้อสรุป
ผู้ประสานความร่วมมือเป็นผู้ประสานความร่วมมือโดยขอให้สมาชิกอื่นๆ เชื่อมโยงความรู้ที่กำลังเรียนอยู่กับความรู้ที่เรียนไปแล้วและกับสิ่งอื่นๆที่สมาชิกเหล่านั้นรู้
ผู้ช่วยจําเป็นผู้หาวิธีการที่ดีในการจดจำข้อเท็จจริงและความคิดสำคัญ ด้วยการใช้ภาพวาดสร้างมโนภาพถือวิธีจำอื่นๆและนำมาร่วมหารือในกลุ่ม
ผู้ตรวจสอบความเข้าใจเป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนถึงเหตุการณ์ที่ใช้ในการทำงานให้สำเร็จซึ่งจะทำให้การให้เหตุผลของนักเรียนชัดแจ้งและเปิดกว้างต่อการปรับแก้และอภิปราย
ผู้ขอความช่วยเหลือเสือเป็นผู้เลือกคนที่จะคอยให้ช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มรวมทั้งเป็นผู้ตั้งคำถามที่ชัดเจนและตรงประเด็นและทำอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะช่วยเหลือสำเร็จ
ผู้อธิบายเป็นผู้บรรยายวิธีการทำงานให้สำเร็จจงเกี่ยวกับงานนักเรียนอื่นอื่นและลงท้ายด้วยการขอให้นักเรียนอื่นบรรยายสาธิตวิธีการทำงานให้สำเร็จ
ผู้ให้ความสะดวกในการอธิบายเป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มวางแผนที่จะสอนเนื้อหาความรู้ให้นักเรียนผู้อื่นโดยละเอียดการวางแผนวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุดมีผลต่อคุณภาพของกลยุทธ์การให้เหตุผลและความคงทนของความรู้
4. ระดับสร้างเสริมทักษะที่จำเป็นต่อการส่งเสริมการรับรู้เหตุผลในสิ่งที่เรียนความขัดข้องด้วยการรู้คิดการค้นหาความรู้เพิ่มเติมและการสื่อสารกันด้วยหลักเหตุผลเมื่อมีการสรุปผลทักษะแห่งความร่วมมือระดับที่ 4 ที่ทำให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมในการโต้แย้งทางวิชาการได้ประเด็นสำคัญที่สุดบางประการของการเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสมาชิกกลุ่มท้าทายการสรุปผลและการให้เหตุผลของกันและกันอย่างคล่องแคล่วการโต้แย้งทางวิชาการทำให้สมาชิกกลุ่มเจาะลึกในเนื้อหาความรู้ที่เรียนระดมหลักเหตุผลในข้อสรุปคิดแปลกแยกเกี่ยวกับปัญหาหาข้อสนเทศเพิ่มเติมสนับสนุนจุดยืนของตนและอภิปรายโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับการเลือกการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทักษะที่เกี่ยวกับการโต้แย้งทางวิชาการ

       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช  ผู้จั...