การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
คําว่า สื่อ
มีความหมายกว้างมาก การเรียนการสอนในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอน ตํารา
เทป วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ mediumหรือ media มาจากภาษาลาติน
หมายถึง บางสิ่งบางอย่างที่ อยู่ตรงกลาง (Intermediate หรือ middle) หรือเครื่องมือ
(instrument) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการ สื่อสารที่ส่งไปถึงประชาชน
เป็นพาหนะของการโฆษณา (Guralinitjv07, 1970) ดังนั้น เมื่อพิจารณาในด้าน ของการสื่อสารแล้ว
สื่อจึงหมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะนําความรู้หรือสารสนเทศจากแหล่งกําเนิดไปสู่ผู้รับ
เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ รูปภาพ วัสดุฉาย สิ่งพิมพ์ และสิ่งดังกล่าวนี้
เมื่อนํามาใช้กับการเรียนการสอน เรา
เรียกว่าสื่อการเรียนการสอนกลวิธีการสอนและการตัดสินใจเลือกสื่อ
เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน และควรจะทําไปพร้อมกัน
หลังจากที่ได้มีการกําหนดจุดหมายและวิเคราะห์ภาระงานแล้ว
แบบจําลองในการเลือกสื่อมีทั้งแบบที่มีความ เรียบง่าย และแบบที่มีความซับซ้อน
โรเบิร์ต เมเจอร์ (Robert Mager) (Knirk and Gustafson, 1986 : 169) ผู้ซึ่ง
เป็นนักออกแบบการสอน เพื่อการค้าที่ประสบความสําเร็จ ได้กล่าวว่า
กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการ เลือก
นอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทําจากอย่างอื่น
วัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการ ออกแบบและผลิต ง่ายที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่าย
และนักเขียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างของ แบบจําลองง่ายๆ
สําหรับการเลือกสื่อ
ส่วนแบบจําลองที่ซับซ้อนเป็นวิธีการที่ส่วนใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยง เท่าที่จะเป็นไปได้
เมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของทหาร ก็คือ อย่าโง่เลย ทําให้ดูง่ายๆ เถอะ (KISS : Keep
It Simple, stupid)
การนําเสนอสื่อการเรียนการสอน
ควรเป็นการกระตุ้นทางการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ง่าย แก่การเข้าใจ
สื่อที่ซับซ้อนมีแนวโน้มของการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายสูงและบ่อยครั้งพิสูจน์ได้ว่ามี
ประสิทธิภาพและเชื่อถือ ไม่ได้
ควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่ถูกที่สุดที่ทําให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตาม
เจตนารมณ์ภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตามข้อควรจํา คือ
การสื่อราคาย่อมเยาที่ผลิตไม่ดีทำให้
การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้สื่อที่ซับซ้อนดังกล่าวแล้วเช่นกัน
การเลือกและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน
เป็นเรื่องสําคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนการ ออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
นักออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการ วิธีการเสื่อ หรือเลือกวิธีการ
เลือกวัสดุอุปกรณ์ ระบุประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าริเริ่มและเฝ้าระวัง
กระบวนการผลิตสื่อ
นักออกแบบอาจจะทําเพียงการวางแผนมโนทัศน์ สคริปและนานๆ
อาจจะผลิตวัสดุ (software) สําหรับจําหน่ายความจํากัดสําหรับบทบาทของผู้ออกแบบในการตัดสินใจ
เกี่ยวกับวิธี/สื่อ จะหลากหลายไปตามสถานการณ์
และแม้ว่าจะมีวิธีการหลายวิธีในการจําแนกสื่อเป็น ประเภทๆ ก็ตาม
ก็ยังไม่มีอนุกรมภิธานสื่อ (taxonomy of media) ที่พัฒนาขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ
(Seels and Glasgow, 1990 : 179)
ในบทนี้จึงเป็นการเสนอสื่อ 3 ประเภท คือ
วิธีการ สื่อดั้งเดิม เทคโนโลยีใหม่หรือสื่อดิจิทัล ภายใน
แต่ละประเภทจะมีทางเลือกและรูปแบบมาก เช่น กราฟฟิก และฟิล์ม
หรือโทรทัศน์เฉพาะกราฟิกก็มีหลาย รูปแบบ ได้แก่ แผนภูมิ การ์ตูน
และภาพประกอบการเลือกวิธีการสื่อ อยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์จะมีความ เหมาะสมสําหรับผู้เรียนสิ่งที่เรียนและข้อจํากัดคุณลักษณะของผู้เรียน
จุดประสงค์ สถานการณ์การเรียนรู้ และ
ข้อจํากัดนั้นต้องระบุขึ้นก่อนที่จะเลือกวิธีการและสื่อหลังจากที่ได้มีการระบุวิธีการสื่อแล้วผู้ออกแบบต้อง
แสวงหาสื่อจากดัชนีสื่อจากสื่อที่สร้างขึ้นเพื่อการค้าซึ่งสามารถที่จะนํามาใช้หรือนํามาปรับใช้ได้ถ้าสื่อ
เหล่านั้นไม่มีประโยชน์ก็ต้องผลิตสื่อขึ้นเอง
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ผลิตสื่อ
ทีมในการผลิตควรจะประกอบ ไปด้วยใครบ้าง ผู้ออกแบบต้องริเริ่ม
เฝ้าระวังติดตามกระบวนการผลิต เป็นความรับผิดชอบของผู้ออกแบบที่
จะต้องมีความแน่ใจในบูรณาการภาพของการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ด้วยการเฝ้าระวังติดตาม
การผลิต
ประเภทของสื่อ
สื่อสามารถจําแนก
ได้ สี่ ประเภท คือ สือทางหู (audio) ทางตา (visual)ทางหูและทางตารวมกัน
(audio- isual) และสัมผัส (tactile) ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆ
สาหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4 ประเภทและตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
ดังต่อไปนี้
1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก
ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสําหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียงวิทยุกระจายเสียง
2. สื่อทางตา
ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆ ที่เป็นของ โดาพ
แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจําลอง สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลด์ แผ่นใส่
3. สื่อทางหูและทางตา
ได้แก่ เทปวีดิโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป คนตร์เสียงในฟิล์ม
ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ดิจิทัล วีดิโอ อินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital
video interactive technology)
4. สื่อทางสัมผัส
ได้แก่ วัตถุของจริงแบบจําลองในการทํางาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จําลอง
ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสําหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจง
ออกแบบจําเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท
ตารางที่ 16 จะ
แสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อจากประเภทของสื่อสําคัญ 4 ประเภทและตารางที่ 17 แสดง
ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น