บทที่ 5 การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital
Learning)
D: การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล
(Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลเป็นการเรียนรู้ผ่าน เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ Social
networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่
การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็น เกงวกับเนื้อหา (ดาtent) จริยธรรม
สังคม และการสะท้อน(Relection) ซึ่งตั้งอยู่ในการเรียนรู้ การทํา
และชีวิตประจําวัน
พระธรรมปิฎก
(ป.อ.ปยุตโต 2546 : 9 – 10) กล่าวว่า สังคมข่าวสารข้อมูลหรือสังคมข่าวสาร
หรือสังคมสารสนเทศ โลกมีข่าวสารข้อมูลแพร่กระจายกว้างขวางทั่วถึงรวดเร็วมาก
ก็คิดว่าคนจะฉลาด คนจะมีปัญญาจะเข้าสู่ยุคแห่งปัญญา แต่ที่จริงการมีข้อมูลข่าวสารมากไม่จําเป็นต้องทําให้คนมีสติปัญญา
หากว่าไม่พัฒนาคนให้รู้จัก รับและใช้ข้อมูลนั้น
และกล่าวสรุปไว้ว่าจําแนกคนได้เป็นสามประเภทดังนี้
1. กลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อ ในกรณีที่คนไม่พัฒนาสติปัญญาอย่างถูกต้องให้สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างแท้จริง
และสามารถถือเอาประโยชน์จากข่าวสารข้อมูลได้ก็จะเป็นโทษอย่างมาก
ข่าวสารข้อมูลจะกลายเป็น เครื่องมือก่อสร้างและหลอกลวงทําให้คนเป็นเหยื่อ
2. กลุ่มที่รู้เท่าทัน คนจํานวนมากมีความภาคภูมิใจว่าตนตามทันข่าวสารข้อมูล
มีข่าวสารข้อมูล อะไรออกมาก็ตามทันหมด ปรากฏว่าตามทันเท่านั้น แต่ไม่รู้เท่าทัน
และก็ถูกกระแสข่าวสารข้อมูลท่วมทับ พัดพาไป
กรณีเช่นนี้ถ้ามีปัญญารู้เท่าทันก็จะทําให้ดํารงอยู่ท่ามกลางกระแสได้
เป็นผู้ที่ยืนหยัดตั้งหลักอยู่ได้
3. กลุ่มที่อยู่เหนือกระแส การรู้เท่าทันยังไม่พอ
ควรที่จะสามารถทําได้ดีกว่านั้นอีกคือขึ้นไปอยู่ เหนือกระแส
เป็นผู้ที่สามารถนําเอาข้อมูลข่าวสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
คนกลุ่มนี้สามารถ จัดการกับกระแส โดยทําการเปลี่ยนแปลงในกระแสหรือนํากระแสให้เดินไปในทิศทางใหม่ที่ถูกต้อง
ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ (http://www.dlthailand.com/thima-khxng-khongkar) อ้างอิงงานวิจัยของ
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยว่าสาเหตุหลักส่วนหนึ่งของปัญหา
คุณภาพการศึกษาไทย คือ การที่
ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันเป็นระบบที่ไม่เอื้อต่อการสร้าง ความรับผิดชอบ (Accountability) หลักสูตรและตําราเรียนของไทยไม่สอดคล้องกับ
การพัฒนาทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 (21st Cen ซึ่งมีผลทําให้การเรียนการสอน
ตลอดไปจนถึงการทดสอบยังคงเน้น การจดจําเนื้อหามากกว่าการเรียนเพื่อให้
มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง อีกทั้งสภาพการจัดการศึกษาของ
ประเทศไทยในปัจจุบัน กําลังประสบปัญหา
ในด้านคุณภาพของนักเรียน ปรากฏอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งมีสาเหตุจาก
การขาดครูหรือครูไม่ครบชั้นไม่สาระการเรียนรู้ครูมีประสบการณ์หรือทักษะการจัดการเรียนรู้น้อย
ขาดสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัยและการส่งได้ลําบาก ครูมีเวลาในการจัดการเรียนการสอนน้อย
กิจกรรมของโรงเรียนมีมาก ทรัพยากรที่มีกระจัด จายไม่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า
และการแก้ปัญหาต่างๆก็ทําได้ในวงจํากัด
กระทรวงศึกษาธิการ
ได้จัดทําโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมี กิจกรรมหลัก
คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลโดยแบ่งเป็น
2 กิจกรรมย่อย คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
และ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกล ปานเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีทางไกล
(Distance 1.ins) เป็นการจัดการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยี
ในการจัดการเรียนการสอนในทุกห้องเรียน แก้ปัญหาการ ขาดแคลนครู ในโรงเรียนขนาดเล็ก
ครูสามารถจัดการเรียนรู้ในทุกสาระได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนและ ครได้เข้าถึง
สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย นักเรียนและครูมีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
และทุกภาคส่วนเข้า มามีส่วนร่วม ในการจัดการศึกษา
การนําเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (Distance Learning) มายกระดับ
คุณภาพการศึกษา เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
(Distance Learning Television : DLTV)
และการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance
Learning via Information Technology ; DLIT) มาดําเนินงานโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา
โดยมีการจัด สภาพการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ของครูอย่างครบถ้วน
ทั้งกระบวนการออกแบบกิจกรรมการ เรียนการสอนที่เน้น กระบวนการสร้างความรู้
จากการลงมือปฏิบัติ เนื้อหา ตลอดจนสื่อและอุปกรณ์ที่จําเป็น
ในการจัดเรียนการสอน อันจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการ เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับ ประชาชนไทยทุกคน
อันเป็นการดําเนินการตามรอยเบื้องพระยุคลบาท
และสนองพระราชดําริในการที่จะพัฒนาการศึกษาไทยให้เจริญก้าวหน้า
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (การศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
บทความไอที 24 ชั่วโมง วันที่: 25 พฤศจิกายน 2016) ได้เสนอบทความเรื่อง
การศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
สรุปความว่า
เทคโนโลยีที่โดดเด่นที่กําลังทําให้สิ่งของทุกสรรพสิ่งบนโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้
นั้นคือ Internet of Everything (IoE) IoE จะสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้
ที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน มากกว่าในอดีตที่ผ่านมา เช่น
นักศึกษาที่อาศัยอยู่ในลอนดอนสามารถร่วมรับฟังการบรรยายจาก
สถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้ โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารที่ทําให้ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคในการเรียน
โดยข้อมูลการเรียนรู้และข้อมูลทั้งหมดจะพร้อมให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ตลอดเวลาข้อมูล
และสื่อการสอนต่างๆ ที่มีอยู่จะถูกนํามาใช้ร่วมกันในรูปแบบใหม่
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งผลกระทบต่อ “วิธีการ” และ “สถานที่” ที่ใช้ในการเรียนรู้
ดังนั้นผู้เรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เศรษฐกิจ -
ที่เชื่องฟูทําให้IoE มีความจําเป็นมากกว่าทักษะและจํานวนของผู้เชี่ยวชาญ
อีกทั้งการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นโดย loE จะทําให้อุปกรณ์สามารถนํามาใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้เรียน
แบบทดสอบเพื่อทดสอบจุดอ่อนและจุคแข็งของผู้เรียน และ นอกจากนี้ loE ยังสามารถเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของผู้มีความบกพร่องทางร่างกายและทางสติปัญญา
เช่น 1 ประเทศออสเตรเลีย
นําเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไปใช้ในโรงเรียนสอนผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย
โดยของผู้เรียน และใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้สําหรับ
เซ็นเซอร์จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ภาษามือของผู้เรียน และใช้ในการ
ผู้เรียนสมาธิสั้น
โดยการตรวจเช็คการทํางานของสมองและการให้รางวัลสําหรับผู้เรียนที่มีพัฒนาการเรียนที่ดีขึ้น
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปก สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
ข่าว ประชาสัมพันธ์ วันที่ 4 พฤษภาคม2561) ได้นําเสนอ Digital
Learning Platform แนวทางการจัดการเรียนการ
สอนผ่านระบบออนไลน์และการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ณ
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สรุปได้ว่า ในเรื่องของการศึกษา สิ่งแรกที่ต้องกระทําคือปรับกระบวนทัศน์
(Paradigm) ให้ชัดเจน ชัยชนะจะ เกิดขึ้นได้อยู่ที่ Big data ซึ่งBig
data ในที่นี้ความหมายที่ถูกต้องคือ ข้อมูลที่เอามาวิเคราะห์และเอาไปใช้
ประโยชน์ในการบริหาร ได้โดยสะดวก
ไม่ใช่หมายถึงข้อมูลจํานวนมากที่จัดเก็บไว้ใคอมพิวเตอร์แม่ ข่าย นอกจาก Big
data แล้ว จิตวิทยาในการจัดการศึกษาเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้
ต้องออกแบบในสิ่งที่ผู้เรียน อยากเรียน ไม่ใช่ออกแบบอย่างที่เราต้องการ
ต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยให้ ความสนใจกับผู้ใช้ (User) และผู้เรียน (Learner) กระทรวงศึกษาธิการต้องตั้งโจทย์ว่าผู้เรียนอยากรู้อะไรที่ไม่
เคยรู้และไม่เคยคิดว่าจะมีทางทําได้ ประเทศไทยกําลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านสําคัญ 5 ด้าน ได้แก่
1) Digital
Infrastructure การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อ
เศรษฐกิจและสังคมได้ดําเนินการโครงการเน็ตประชารัฐเข้าถึงพื้นที่ระดับชุมชน
2) คนกับดิจิทัล ต้องมีการสร้างคนในระดับต่างๆ
การศึกษาต้องจับคู่กับความต้องการของด้าน แรงงานให้เหมาะสม
ว่ามีความต้องการคนทํางานที่มีคุณสมบัติอย่างไร และด้านใดบ้าง เพราะจะเห็นได้ว่าใน
บางธุรกิจเช่นธุรกิจธนาคาร หรือบางอุตสาหกรรม คนเริ่มถูก AI เข้ามาแทนที่แล้ว
3) Big
Data ในภาครัฐ ต้องมีการบูรณาการข้อมูลระหว่างกระทรวงเพื่อนํามาวิเคราะห์
ออกแบบ และวางแผนทางด้านนโยบายต่างๆ เช่น
การเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตกําลังคนในระบบการศึกษา
ตอบโจทย์ความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเป็นต้น
4) Cyber
Security ต้องให้ความสําคัญกับความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
5) Internet
of Things (IoT) มหาวิทยาลัยต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี IOTอย่างเร่งด่วน
อติพร
เกิดเรือง (2560) ได้เสนอผลการศึกษาเรื่อง การส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อ
รองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล (วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง 173 - 184) สรุปดังนี้ 1 กาะ
ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมในยุคดิจิทัล มี 4 องค์ประกอบหลัก
คือ
1) การเรียนรู้เกี่ยวกับดิจิทัล
2) การสร้างสรรค์
3) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
4) ผลิตภาพที่มีคุณภาพสูง
2. การเรียนรู้จากยุคเดิมสู่ยุค คาง
ต้องจัดการเรียนรู้ ที่คํานึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียน การทํางาน
และการดํารงชีวิต เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองโดยนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วยใน การจัดการเรียนรู้ให้
มากที่สุด ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้ตามหลักสูตร และการวัดผลและประเมินผลพัฒนาการ
มากกว่าการวัดผลสัมฤทธิ์ 3. การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัล
ต้องคํานึงถึงการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นการสร้างสรรค์ปรับแต่ง
การเรียนรู้การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เน้นการใช้เครือข่าย
ออนไลน์ การจัดการเรียนรู้สร้างสถานการณ์ จําลองให้ผู้เรียนพบประสบการณ์จริง
เนื้อหาการเรียนรู้ควรมี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์
สามารถสร้างองค์ความรู้ แบ่งปันความรู้และเนื้อหาผ่านเครือข่าย
ออนไลน์และส่งเสริมความรู้ในโลกแห่งการทํางานมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น