เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้ โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่าง
ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้เองนั้นเป็นเรื่องยาก ผู้สอนจึงมีหน้าที่เตรียมจัดสถานการณ์และกิจกรรมต่าง
ๆ นำไปสู่การเรียน โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง รวมถึงการแนะนำแนวทางที่จะทำงานให้สำเร็จ และในขณะที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ผู้สอนควรสังเกตการณ์อยู่ด้วย
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้สอนประการหนึ่ง
คือ ผู้สอนเข้าใจว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ต้องจัดโต๊ะเก้าอี้ให้นักเรียนทำงาน โดยไม่เข้าใจว่าการนั่งรวมกลุ่มกันนั้นทำเพื่ออะไร ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ เมื่อผู้เรียนจะต้องทำงานร่วมกัน จึงจัดเก้าอี้ให้นั่งรวมกลุ่ม ไม่นั่งร่วมกลุ่มแต่ต่างคนต่างทำงานของตัวเอง ซึ่งรูแบบการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่ผู้สอนควรศึกษาเป็นแนวทางนำไปใช้เป็นเทคนิค ในการจัดกิจกรรม คือ
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนรู้ร่วมกัน (Cooperative Learning)
วิทยากร เชียงกูล (2549) ได้กล่าวถึงลักษณะการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย
ๆ กลุ่มละ 4-5 คน โดยสมาชิกในกลุ่มมีระดับความสามารถแต่งต่างกัน
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตามความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง คือ ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้ในการดำเนินชีวิต สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องราวเดียวกัน ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความชำนาญ
ตัวอย่างวิธีการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ผู้สอนควรเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนทุกคนได้ร่วมกันวางแผน ดำเนินการตามแผน และร่วมกันสรุปผลงาน ผู้เรียนแต่ละคนจะได้เลือกและแสดงความสามารถที่ตนเองถนัด เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย จึงสามารถกล่าวขยายความได้ว่า การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน ซึ่งสามารถทำอย่างต่อเนื่องกันได้ โดยมีประเด็นดังนี้
1.
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องใดหนึ่งที่ตนเองสนใจ
2.
ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือหาคำตอบด้วยตนเอง โดยการคิดและปฏิบัติจริง
3.
วิธีการหาคำตอบมีความหลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
4.
นำข้อมูลหรือข้อความรู้จากการศึกษามาสรุปเป็นคำตอบหรือข้อค้นพบของตนเอง
5.
มีระยะเวลาในการศึกษาหรือแสวงหาคำตอบพอสมควร
6.
คำตอบหรือข้อค้นพบเชื่อมโยงต่อการพัฒนาความรู้ต่อไป
7.
ผู้เรียนมีโอกาสเลือก วางแผน และจัดการนำเสนอคำตอบของปัญหาหรือผลการค้นพบด้วยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนเอง
การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา
สำนักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษา(2553
หน้า 119-128) การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา
มีลักษณะดังนี้ (อ้างถึงใน สำนักบริการวิชาการและจัดหารายได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
)
1.
การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน มีการบูรณาการดังนี้
1.1
กรณีที่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเป็นทีมวิจัยของอาจารย์ โดยอาจารย์มีงานวิจัยในลักษณะชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่และงานวิจัยย่อย
ๆ โดยนักศึกษาเข้าเป็นทีมในการวิจัยของอาจารย์ในชุดย่อย ๆ และมีอาจารย์ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการชุดใหญ่ ให้คำแนะนำปรึกษา ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะในกระบวนการทำวิจัย
1.2
กรณีที่นักศึกษาปริญญาตรีทำโครงการวิจัย หรืองานสร้างสรรค์
ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์ เป็นการออกแบบการเรียนการสอนด้วยการมอบหมายงานนักศึกษาในรูปแบบที่เป็นองค์ประกอบงานวิจัย โดยมีอาจารย์ควบคุมการ ดำเนินงานเป็นระยะ
ๆ
1.3
กรณีที่นักศึกษาทุกระดับ ปริญญาตรี โท และเอก เข้าฟังการบรรยายหรือสัมมนา เกี่ยวกับผลความก้าวหน้าในงานวิจัยของอาจารย์คือ เข้าร่วมการจัดการแสดงงานสร้างสรรค์ของอาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญ
1.4
จัดให้มีการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยหรือแสดงงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา
หรือส่งเสริมนักศึกษาเข้าร่วมประชุมการเสนอผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ
1.5
การส่งเสริมให้อาจารย์นำผลลัพธ์ที่เกิดจากการวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่ง ของเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน
หมายถึง อาจารย์มีผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับรายวิชาที่สอนและนำองค์ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยมาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน
2.
การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคม การบริการวิชาการหมายถึง กิจกรรมหรือโครงการให้บริการแก่สังคมภายนอกสถาบันหรือเป็นการให้บริการที่จัดในสถาบันแต่ต้องเป็นการจัดให้กับบุคคลภายนอก
ประเภทของการบริการวิชาการมีดังนี้ ประเภทให้เปล่าโดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร ในการบูรณาการวิชาการ แก่สังคม สามารถดำเนินการได้ดังนี้
2.1
การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนปกติ และมีการกำหนดให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับจัดทำเป็นโครงการหรือกิจกรรม
2.2
การบูรณาการงานการบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยเป็นการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ หรือการนำความรู้ และประสบการณ์จากการบริการวิชาการกลับมาพัฒนาต่อยอดความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการวิจัย
3.
การบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน สถาบันควรสนับสนุนให้มีการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน คือมีการจัดการเรียนการสอนที่นำการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น