วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบและทบทวน



          ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขึ้นการประเมินการเรียนรู้อิงมาตรฐานปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการเขียนระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้ซึ่งอาจใช้แนวทางการกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิดSolo taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกไม่ใช่เรียนแบบผิวเผินๆหรือแนวทางอื่นๆ

การประเมินการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
โดยใช้แนวทางการกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะ
ตามแนวคิดSolo taxonomy 

วิธีการวัดและประเมินผล

รายการที่ประเมิน
1.Pre-structural
(ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน)
2.Uni -structural (ระดับมุมมองเดียว)
3. Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง)
4.Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์)
5.Extendedabstract (ระดับขยายนามธรรม)
ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
นักเรียนเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเนื้อหาเข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น
หมายเหตุ เกณฑ์การให้คะแนน
1.Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน)  คือ ถ้าผู้เรียนอยูในระดับ
Pre-structural จะได้ 1-2คะแนน
2.Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ ถ้าผู้เรียนอยูในระดับ  Uni-structural  จะได้ 3-4 คะแนน
3. Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ ถ้าผู้เรียนอยูในระดับ  Multistructural  จะได้ 5-6คะแนน
4. Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ ถ้าผู้เรียนอยูในระดับ  Relational  จะได้
7-8 คะแนน

5. Extendedabstract (ระดับขยายนามธรรมคือ ถ้าผู้เรียนอยูในระดับ  Relational  จะได้ 9-10คะแนน


สรุป


         การประเมินอิงมาตรฐานระดับที่มีความสำคัญที่สุดคือ  การจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จ  โดยดูจากผู้เรียนมีความรู้ และทักษะเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ กล่าวได้ว่าโปภรแกรมการเรียนการสอนมีประสิทธิผลระดับใด  อีกประเด็นหนึ่งคือการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนหรือการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพระดับใด  การประเมินคุณภาพภายใน เป็นการประเมินให้ความสำคัญที่กระบวนการ  (process) การประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินในระหว่างจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้และการปรับปรุงสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน  ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอก  เป็นการประเมินที่มุ่งตอบคำถามว่า  การจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่  คำถามหลัก  คือ  ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานหลังจากการเรียนการสอนได้หรือไม่  กระบวนการมีขั้นตอนใดที่มีปัญหาอุปสรรค  เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหารได้พัฒนาในโอกาสต่อไป


การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้


การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
          The SOLO taxonomy
          The SOLO taxonomy เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดงคุณสมบัติเฉพาะในระดับต่าง ๆ กันของคำถาม และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียน เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนที่เป็นระบบที่นำมาช่วยอธิบายว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีความหลากหลายของภาระงานทางวิชาการ โดยที่นิยมจุดประสงค์ของหลักสูตร ในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติ เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
          การใช้ SOLO Taxonomy ในการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้  จะช่วยให้ทั้งครูและผู้เรียนตระหนักถึงองค์ประกอบที่หลากหลายจากหลักสูตรได้อย่างแจ่มชัดขึ้น  แนวคิดดังกล่าวถูกนำไปกำหนดเป็นนโยบายใช้ในการประเมินในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง สืบเนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้ในหลายสาขา  การประเมินความสามรถในการปฏิบัติของผู้เรียนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียนในแง่ของความเข้าใจที่ซับซ้อน ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (1) ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structural) (2) ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni-structural) (3) ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi- structural) (4) ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational Level) และ (5) ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level)
ตารางที่ 24 การจัดระดับ SOLO Taxonomy คำถามแลการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน

          ประเด็นสำคัญที่พึงระมัดระวังในการใช้ SOLO Taxonomy
          การปรับใช้ SOLO Taxonomy กับแนวคิดการสรรค์สร้างองค์ความรู้ ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้มีอยู่มากมาย อาทิ
          ในการสอนครูสอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไร ครูสอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
          ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด จะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
          การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสำคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนตามความสามารถ (แทน “สิ่งที่ครูมักระบุว่านักเรียนคนนั้น  คนนี้ เก่ง / ไม่เก่ง หรือ ดี / ไม่ดี) และการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดี การปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้  สรุปได้ว่า
·       ทำให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น (ความมุ่งมั่น/เจตนา (Intended) การเรียนรู้ (Learning )ผลผลิต(Outcomes)
·       การทดสอบสมรรถ                       ILO’ s                         การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการ  ILO ในการบรรลุผลการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย
SOLO Taxonomy มีเหมาะสมดีที่นำมาใช้ในการให้เหตุผลในการกำหนดสมรรถนะในหลักสูตรและรายวิชาต่าง ๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
         การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด  SOLO Taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึกไม่ใช้เรียนแบบผิวเผิน
                   SOLO 4 :      การพูดอภิปราย  สร้างทฤษฎี ทำนายหรือพยากรณ์
                   SOLO 3 :      อธิบาย  วิเคราะห์  เปรียบเทียบ
                   SOLO 2 :      บรรยาย  รวมกัน  จัดลำดับ
                   SOLO 1 :      ท่องจำ  ระบุ   คำนวณ
         บทบาทของการสอบ
         “การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อน”  แนวคิดสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเมื่อต้องการทดสอบสมรรถนะหรือผลผลิตของการสอน  นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
         ทฤษฎีการวางแผน  (ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
         ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ  (และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ)
         ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิด “การสอบคล้ายกับ” การเปลี่ยนจากความชั่วร้าย เป็นการสร้างแรงจูงใจ (motivation) และแนวทางในการเรียนรู้ (learning guiding) ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน
         การจัดลำดับขั้นตอนของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม (Bloom Taxonomy 1956) เมื่อนำมาสัมพันธ์กับแนวคิด (SOLO Taxonomy  ของ Biggs & Collis 1982)
         SOLO 1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม  ในขั้นความรู้ (จำ) ความเข้าใจ และการนำไปใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
         SOLO 3 และ 4 สอดคล้องกับแนวคิดของบลูม  ในขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าข้อมูลเชิงคุณภาพ


การประเมินคุณภาพภายนอก



          การประเมินคุณภาพภายนอก  คือ  การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา  การติดตาม  การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
          ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
                   การประเมินคุณภาพภายนอก  มีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษา  หน่อยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน  ดังต่อไปนี้
          1. เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน
          2. เพิ่มความมั่นใจ  และคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการ
          3. สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแล
          4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวม
          วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
             การประเมินคุณภาพภายนอก มีวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
          1. เพื่อตรวจสอบ  ยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา
          2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น
          3. เพื่อช่วยแนะแนวทางปรับปรุง
          4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพ
          5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพ
ผู้ประเมินภายนอก  หมายถึงบุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดและได้การรับรองจาก สมศ.
มาตรฐานการศึกษา  คือข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง
4.  การประเมินคุณภาพภายใน
          Clark (2005 : 2) กล่าวว่า การประเมินคุณภาพภายในโปรแกรมการเรียนการสอน (internal evaluation) เป็นวิธีการประเมินที่นำไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรมแกรมการเรียนการสอนในระหว่างการดำเนินการ การประเมินเน้นที่กระบวนการ (process) การประเมินคุณภาพภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบแก้ไขและปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นเมื่อนำไปใช้กับผู้เรียนโดยทั่วไป ในการประเมินจะเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน การประเมินนี้จึงมีบทบาทสำคัญของการจัดการเรียนการสอน เคมพ์ (Kemp : 1971) เสนอแนะการประเมินไว้ ดังนี้
          1. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ผู้เรียนมีข้อบกพร่องใดบ้าง
          2. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความรู้  หรือทักษะในระดับที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่
          3. ผู้เรียนใช้เวลานานเพียงใด เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้
          4. กิจกรรมต่าง ๆ เหมาะสมสำหรับผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่
          5. วัสดุต่าง ๆ สะดวกและง่ายต่อการติดตั้ง การหยิบ การใช้ หรือการเก็บรักษาหรือไม่
          6. ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อวิธีการเรียนการสอน กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ และวิธีการประเมินผลอย่างไรบ้าง
          7. ข้อสอบเพื่อประเมินตนเอง ใช้วัดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนได้หรือไม่
          8. ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโปรมแกรมในส่วนใดบ้าง (เนื้อหา รูปแบบ และอื่น ๆ)
การประเมินภายนอก
          1. จุดมุ่งหมายทั้งหมด ได้รับการบรรลุในระดับใดบ้าง
          2. หลักจากการเรียนการสอนผ่านไปแล้ว การปฏิบัติงานผู้เรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้ ทักษะ และการสร้างเจตคติมีความเหมาะสมหรือไม่
          3. การใช้วัสดุต่าง ๆ ง่านต่อการจัดการสำหรับผู้เรียนจำนวนมาก ๆ หรือไม่
          4. สิ่งอำนวยความสะดวก กำหนดการ และการนิเทศ มีความเหมาะสมกับโปรมแกรมหรือไม่
          5. มีการระวังรักษาการหยิบ การใช้เครื่องมือวัสดุต่าง ๆ หรือไม่
          6. วัสดุต่าง ๆ ที่เคยใช้แล้ว ถูกนำมาใช้อีกหรือไม่
          7. ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรบ้างต่อวิชาที่เรียน


การประกันคุณภาพการศึกษา


การประกันคุณภาพการศึกษา

          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  มาตรา 48  “ให้หน่วยงานต้นสังกัด  และสถานศึกษาจัดให้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน  เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
          การประกันคุณภาพสถานศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้มาตรฐานทั้งในระดับอุดมศึกษา  และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ซึ่งแนวคิดที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

          1. การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน  (ASEAN Cooperation  Initiative in  Quality  Assurance)
            การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างมาตรฐานและเสริมสร้างคุณภาพการศึกษาของหลักสูตร  โยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับในอาเซียน (AUN Quality Assurance  -  AUN -QA) ที่ตระหนักถึงความสำคัญของประกันคุณภาพการศึกษาในการศึกษา ให้แก่มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN  เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ( AUN  Quality Assurance  -  AUN -QA) เป็นกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาและสร้างมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  การรับรองมาตรฐานระดับหลักสูตรจะเริ่มต้นจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  และนำมากำหนดไว้ในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้รับ  ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสูตรการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์  ASEAN University  Network Quality Assurance : AUN-QA  โดยเกณฑ์พิจารณา 11  หมวด ได้แก่
          1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้
          2. ข้อกำหนดหลักสูตร
          3. โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหา
          4. แนวทางการสอนและการเรียนรู้
          5. การประเมินผลนักศึกษา
          6. คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ
          7. คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน
          8. คุณภาพของนักศึกษาและการสนับสนุน
          9. สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
          10. การเพิ่มคุณภาพ
          11. ผลผลิต
            มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN ได้มีการนำเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร   (AUN-QA Assessment) โดยหลักสูตรที่มีความพร้อม  มหาวิทยาลัยจะยื่นขอรับรองโดย AUN-QA ต่อไป


2.การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา   ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
          สำนักทดสอบทางการศึกษา  กรมการวิชาการ  กระทรวงศึกษาธิการ (2545) ได้ศึกษาและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน   จากผลการศึกษากระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเป็นกฎหมายกระทรวง กำหนด  ระบบ  หลักเกณฑ์  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและเอกสารการดำเนินงานตามระบบดังกล่าว  ได้แก่
          1. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
          2. แนวทางการจัดทำระบบสารสนเทศสถานศึกษา
          3. แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา
          4. แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
          5. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา
          6. แนวทางการรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา
          7. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา  โดยเขตพื้นที่การศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา :  กรอบและแนวการดำเนินงาน เขียนแสดงความสัมพันธ์ได้ดังภาพ ประกอบที่ 13




หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน


หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน  
(How  to Use  Standards  in  the Classroom  )    
          การเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้กับหลักสูตรเป็นสิ่งสำคัญ  การเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ  มาตรฐานการเรียนรู้และท้องถิ่น  ไปสู่เป้าหมายการเรียนการสอนของนักเรียนและครู    Harris,  Douglas E and Carr, Judy  F (1996 :  18) ได้นำเสนอแผนภูมิแสดงความสอดคล้องเชื่อมโยงของหลักสูตร  การเรียนการสอน และการประเมินแบบอิงมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ดังภาพประกอบที่  11



จากแผนสรุปได้ว่า
          กรอบหลักสูตรมลรัฐเชื่อมโยงและสะท้อนสิ่งที่พึ่งประสงค์ในมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ
          หลักสูตรแลการประเมินระดับท้องถิ่นและโรงเรียน  สะท้อนถึงมาตรฐานที่กำหนดในกรอบหลักสูตรมลรัฐ
          กิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียน  เชื่อมโยงและสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้มลรัฐ  หลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษา  ในขณะเดียวกันก็ต้องสนองตอบความสนใจและความต้องการของนักเรียน
          มาตรฐานสู่ความสำเร็จ  :  หลักสูตร  การประเมินผล  และแผนปฏิบัติ
          เมื่อโรงเรียนหรือสถานศึกษาได้ใช้มาตรฐานใดแล้ว  ทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจว่ามาตรฐานของโรงเรียนคืออะไร  และจะนำไปใช้อย่างไร  คณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องใช้แผนการประเมินเกี่ยวข้องกับขั้นตอนสำคัญ  คือ  การประเมินสภาพปัจจุบันของหลักสูตร  การเรียนการสอน  และการประเมินที่สอดคล้องกับมาตรฐาน  และใครประเมินมาตรฐานใด  โดยวิธีใด  เป็นต้น
          กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและแผนการประเมิน  Carr, Judy  F  and  Harris, Douglas E. (2001 :  45 - 49) เสนอคำถามที่เกี่ยวข้อง คือ จะสร้างการประเมินระดับชั้นเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างไร  ซึ่งการประเมินชั้นเรียนไม่ได้เป็นเพียงการทดสอบ  การวัด หรือการให้คะแนน แต่การประเมินเป็นบูรณาการของการสอน


การประเมินผลและการนิเทศ



          Carr, Judy  F  and  Harris,  Douglas E. (2001 :  153) กล่าวโดยสรุป  การพัฒนาวิชาชีพ การนิเทศและการประเมินผล  มีจุดหมายเพื่อให้ผู้เรียนรู้ตามมาตรฐาน  และได้นำสนอหลักการดำเนินการพัฒนาด้านวิชาชีพที่อิงมาตรฐาน  7  ประการดังนี้
          หลักการที่ 1  ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเกิดจากภาพลักษณ์ที่ดีด้านการเรียนการสอน
          หลักการที่ 2  ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพให้โอกาสผู้สอนได้สร้างองค์ความรู้และทักษะของตน
          หลักการที่ 3  ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพใช้หรือเป็นตัวแทนกลยุทธ์การสอนที่ผู้สอนจะใช้กับผู้เรียน
          หลักการที่  4  ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้  หลักการสำคัญของระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
          หลักการที่ 5  ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมครูให้มีบทบาทเป็นผู้นำ  กล่าวคือ ครูต้องมีภาวะความเป็นผู้นำในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐาน
          หลักการที่ 6  ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างความเชื่อมโยงกับหน่วยการศึกษาอื่น  การเชื่อมโยงด้วยมาตรฐาน  คือ  วิธีการดำเนินงานที่เป็นระบบ
          หลักการที่  7  ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพต้องประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐาน  ความมีประสิทธิผลวัดได้จากพัฒนาการของนักเรียน


การประเมินอิงมาตรฐาน Standard Based Assessment

บทที่ 8
การประเมินอิงมาตรฐาน  Standard  Based  Assessment

          S  :  การประเมินอิงมาตรฐาน  (Standard  Based  Assessment)       การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยใช้แนวคิดพื้นฐานโครงสร้างการสังเกตการเรียนรู้ (Structure  of  Observed  Learning Outcomes)  รวมถึงมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
          มาตรฐานมีความสำคัญอย่างยิ่งในชั้นเรียน  มาตรฐานเป็นตัวกระตุ้นการสอนที่ประสบผลดีที่สุดสำหรับผู้สอนที่มีความสามารถสูงสุด  เมื่อผู้สอนมองการสอนเทียบกับมาตรฐานจะพบว่า  การสอนตอบสนองต่อมาตรฐาน เพื่อความชัดเจนผู้สอนต้องตอบคำถามเรื่องการเรียนการสอนกับมาตรฐาน  ดังนี้
          ใครกำลังสอนมาตรฐานใด  เพื่อตอบคำถามว่า  ใครสอนมาตรฐานอะไร  ไม่ใช่ใครสอนหัวข้อใด
          ใครประเมินผลมาตรฐานใดบ้าง  โดยวิธีใด เพื่อตอบคำถามว่า ใครประเมินฐานใด  โดยวิธีใด
         การนำมาตรฐานมาใช้เพื่อกำหนดว่าเนื้อหาและทักษะใดสัมพันธ์กับมาตรฐานใด แต่การเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาและทักษะกับมาตรฐานอาจไม่เพียงพอ  ส่งผลให้มาตรฐานบางอย่างถูกละเลย  มาตรฐานใดบ้างที่จะนำมาใช้ในการสอนและการประเมิน  ช่วยตัดสินใจได้ว่าควรจะสอนและประเมินอะไรในระดับใดชั้นใด  และวิชาใด โดยวิธีใด  สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามาตรฐานได้นำมาใช้สอนและประเมินผลในชั้นเรียน
          แผนจัดการเรียนรู้นี้ดีที่สุดหรือไม่  ถ้าไม่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดบ้าง  มีสิ่งใดบ้างที่ถูกมองข้ามไปหรือมีมากเกินไป
          ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้อย่างเพียงพอ  และแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือไม่
         มาตรฐานเป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องต่อความคาดหวังเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  มาตรฐานจะทำให้เกิดโครงการสร้างซึ่งนำไปสร้างเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่สมบูรณ์แบบและลุ่มลึกได้ คือ
          มาตรฐานใดบ้างที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
          ผู้เรียนแต่ละคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกมาตรฐานหรือไม่

สรุป



       การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน จะทําให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนปรับปรุงตนเองอยู่ เสมอ เพราะการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอาศัยการประเมินตัวต่อตัว ประเมินกลุ่มย่อยและ การทดลองภาคสนาม การออกแบบการเรียนการสอนจะทําให้การประเมินในลักษณะนี้มีความชัดเจนขึ้น และใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์ โดยประเมินผู้เรียนแต่ละคนเปรียบเทียบกับจุดประสงค์ หรือจุดหมายและ ระดับคุณภาพ(เกณฑ์ที่กําหนดไว้นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างนิสัยที่พึงปรารถนา ให้แก่ผู้เรียนอีกด้วย ที่ จัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือกันเป็นพื้นฐานแล้ว ผู้เรียนจะติดนิสัยการให้ความร่วมมือกัน จะทําให้ สังคมได้เยาวชน และผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาต่างๆ ที่เห็นแก่ส่วนรวม มีความเป็นประชาธิปไตย ยอมรับ ความคิดเห็น และปฏิบัติตามมติของกลุ่ม แม้ว่าตนเองจะไม่เห็นด้วย รู้จักช่วยให้กลุ่มประสบความสําเร็จใน งาน เพราะงานบางอย่าง บางประเภท ไม่อาจทําสําเร็จได้โดยลําพังผู้เดียว ต้องอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ส่วนกลุ่มที่มีการแข่งขันกันนั้นควรจะเป็นการเสริมแรงทางบวก คือ การแข่งขันกับตนเอง เพื่อที่จะเอาชนะใจตนเอง มีวินัยในตนเอง และพัฒนาตนเองในที่สุด


การทดสอบและการให้เกรด (Testing and Grading)



การทดสอบ เป็นการนําข้อของคําถามที่สร้างขึ้นไปกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการ ออกมา โดยสามารถสังเกตและวัดได้ การทดสอบนี้มักจะใช้ในการวัด และการประเมินผลการเรียนการสอน เป็นส่วนใหญ่ โดยใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือสําคัญ แบบทดสอบนี้มีด้วยกันหลายประเภท แล้วแต่เกณฑ์ที่ ใช้ในการจําแนกซึ่งพอจําแนกได้ดังนี้
จําแนกตามลักษณะการกระทํา ได้แก่
1.1  แบบทดสอบแบบให้ลงมือทํากระทํา (Performance Test) ได้แก่ แบบทดสอบ
ภาคปฏิบัติ ทั้งหลาย เช่น การทดสอบวิชาพลศึกษา การทดสอบวิชาขับร้องนาฏศิลป์ เป็นต้น
1.2  แบบทดสอบแบบเขียนตอบ (Paper-Pencil Test) ได้แก่ การทดสอบที่ให้ผู้สอบต้องเขียน ตอบในกระดาษและการใช้การเขียนเป็นเกณฑ์ เช่น แบบทดสอบอัตนัย แบบทดสอบความเรียง เป็นต้น
1.3  แบบทดสอบปากเปล่า (Oral Test) เป็นแบบทดสอบที่ผู้สอบต้องตอบด้วยวาจาแทนการ เขียนตอบ หรือการปฏิบัติ หรือการปฏิบัติ เป็นการเรียกมาซักถามกันตัวต่อตัว เหมือนกับการสอบสัมภาษณ์ แต่เป็นการซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาสาระมากกว่าการสอบสัมภาษณ์ปกติ
จําแนกตามสมรรถภาพที่ใช้วัด ได้แก่
2.1 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาการที่ได้จากการเรียนรู้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
2.1.1 แบบทดสอบที่ผู้สอนสร้างเอง (Teach-made Test) เป็นแบบทดสอบที่สร้างขึ้น เฉพาะครั้งคราว เพื่อใช้ทดสอบความรู้ความสามารถและทักษะของผู้เรียนในห้องเรียนบางครั้งอาจเรียกว่า แบบทดสอบชั้นเรียน (Classroom Test) แบบทดสอบชนิดนี้เมื่อสอบเสร็จแล้วมักไม่ใช้อีก และถ้าต้องการ สอบใหม่ก็จะสร้างใหม่หรือปรับปรุงดัดแปลงของเก่ามาใช้ใหม่อีกครั้ง
2.1.2 แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized Test) เป็นแบบทดสอบที่สร้างและผ่าน กระบวนการพัฒนาจนมีคุณภาพได้มาตรฐาน
2.2 แบบทดสอบความถนัด (Attitude Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถทาง
สมอง (Mental Ability) ที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ต่างๆ ใช้สําหรับทํานายสมรรถภาพทางสมองว่าสามารถ เรียนไปได้ไกลเพียงไร หรือมีความถนัดไปในทางใด
2.3 แบบทดสอบบุคลิกภาพและสถานภาพทางสังคม (Personal Social Test) เป็นแบบทดสอบที่ จะวัดบุคลิกภาพของคน เช่น เจตคติ ความสนใจ นิสัย ค่านิยม ความเชื่อ การปรับตัว สถานภาพทางสังคม และสถานภาพทางอารมณ์ เป็นต้น
3. จําแนกตามลักษณะการตอบ ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
3.1 แบบทดสอบความเรียง (Essay Test) เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้ตอบหาคําตอบและเรียบ เรียงคําตอบขึ้นเอง ผู้ตอบสามารถแสดงความรู้ความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
3.2 แบบทดสอบปรนัย (Objective Test) เป็นแบบทดสอบที่มุ่งให้ผู้ตอบตอบเพียงสั้นๆ หรือ เลือกคําตอบจากที่กําหนดไว้

แบบทดสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการสอน
แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีจุดมุ่งหมายและความสามารถ ในการวัดต่างกัน ดังนั้นการนําแบบทดสอบไปใช้จึงต้องพิจารณาเลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับ จุดมุ่งหมายที่นําไปใช้ แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ในการเรียนการสอนนั้นเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ ผู้สอนสร้างขึ้นเองโดยจําแนกตามลักษณะการตอบเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. แบบทดสอบอัตนัยหรือความเรียง (Subjective or Essay Test)
2. แบบทดสอบปรนัย (Objective Test)
รายละเอียดของแบบทดสอบแต่ละประเภทมีดังนี้
1. แบบทดสอบอัตนัยหรือความเรียง เป็นแบบทดสอบที่ให้คําตอบโดยไม่มีขอบเขตของคําตอบ ที่แน่นอนไว้ การตอบใช้การเขียนบรรยายหรือเรียบเรียงคําตอบอย่างอิสระตามความรู้ ข้อเท็จจริงตามความ คิดเห็นและความสามารถที่มีอยู่โดยไม่มีขอบเขตจํากัดแน่นอนตายตัวที่เด่นชัด นอกจากกําหนดด้วยเวลา การ ตรวจให้คะแนนไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว ส่วนมากมักขึ้นอยู่กับผู้ตรวจสอบเป็นสําคัญแบบทดสอบนี้ ยังแบ่งได้ เป็น 2 แบบดังนี้
1.1 แบบทดสอบจํากัดคําตอบซึ่งจะถามแบบเฉพาะเจาะจงแล้วต้องการคําตอบเฉพาะเรื่อง
ผู้ตอบต้องจัดเรียงลําดับความคิดให้เป็นระเบียบ เพื่อให้ตรงประเด็นดังนั้นผู้ออกข้อสอบจึงต้องระมัดระวังใน เรื่องคําสั่งของโจทย์ ขอบเขตเนื้อหา เวลาในการเขียนตอบ และความสะดวกในการให้คะแนนได้มากกว่า แบบไม่จํากัดคําตอบ เพราะแบบทดสอบแบบนี้จะมีเกณฑ์ต่างๆ ที่จะตัดสินคะแนนให้ยุติธรรมมากกว่าแบบ ไม่จํากัดคําตอบ นอกจากนี้แบบทดสอบแบบอัตนัยประเภทจํากัดคําตอบนี้ยังตรวจได้ง่ายเพราะคําตอบที่ถูก จะอยู่ในกรอบที่กําหนดไว้ ดังนั้นจึงเหมาะสมที่จะนํามาใช้เมื่อมีผู้เข้าสอบเป็นจํานวนมาก และต้องการดู ความสามารถในการเขียนของผู้ตอบด้วยตัวอย่างเช่น
  •จงเบรียบเทียบลักษณะของการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการปกครองเนส การ
มาอย่างละ 3 ข้อ
  • จงบรรยายขั้นตอนการทําน้ําให้สะอาดให้ครบทุกขั้นตอน ฯลฯ
1.2 แบบทดสอบแบบไม่จํากัดคําตอบหรือแบบขยายความ แบบทดสอบแบบนี้จะถาม
ความรู้ ความสามารถต่างๆ โดยให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ซึ่งจะสามารถวัดสมรรถภาพทางความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ เจตคติ การประเมินค่าได้อย่างกว้างขวาง ปริมาณและคุณภาพของคําตอบจึงขึ้นอยู่กับคําถาม และความรู้ที่สะสมไว้ว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด การกําหนดเวลาในการเขียนตอบ จึงต้องกําหนดให้เหมาะสม กับเรื่องที่ต้องการทราบ แบบทดสอบแบบนี้ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการรวบรวมความคิด การประเมินค่า และ การใช้วิธีการต่างๆ ในการแก้ปัญหา ซึ่งแบบทดสอบแบบนี้มีจุดอ่อนอยู่ที่การให้คะแนน เพราะเป็นการยากที่ จะหาเกณฑ์ในการให้คะแนนได้ถูกต้องและชัดเจนเนื่องจากผู้ตอบมีอิสระในการคิดและเขียนโดยเสรี ตัวอย่างเช่น
  • จงเสนอโครงการในการพัฒนาบุคลิกภาพของนักศึกษาวิชาชีพครูให้มีบุคลิกภาพที่ดี
ตามความคิดเห็นของท่าน
  • พุทธศาสนาจะช่วยพัฒนาสังคมได้อย่างไร จงอธิบายพร้อมให้เหตุผลประกอบ ฯลฯ
2. แบบทดสอบแบบปรนัย แบบทดสอบแบบนี้จะกําหนดคําถามและคําตอบไว้ให้ โดย
ผู้ตอบ จะต้องอ่านด้วยความพินิจพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคําตอบ แบบทดสอบแบบปรนัยนี้มีลักษณะเด่นที่ผู้ตอบ จะต้องใช้เวลาส่วนมากไปในการอ่านและคิด ส่วนการตอบใช้เวลาน้อย การตรวจทําได้ง่ายใช้ใครตรวจก็ได้ และสามารถใช้เครื่องสมองกลช่วยตรวจให้ได้ เพราะผลที่ได้จากการตรวจจะไม่แตกต่างกันเลย แบบทดสอบ แบบปรนัยนี้มีทั้งให้ผู้ตอบเขียนคําตอบเองกับเลือกคําตอบที่กําหนดให้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 แบบทดสอบเขียนคําตอบ ได้แก่
    2.1.1 แบบทดสอบแบบตอบสั้น เป็นข้อสอบที่ผู้ตอบจะต้องหาคําตอบเองแต่เป็นคําตอบ
สั้น ๆ เหมาะสําหรับใช้วัดความรู้ ความจํา เกี่ยวกับคําศัพท์ ข้อเท็จจริง หลักการและหลักเกณฑ์ต่างๆ เป็นการ ให้ระลึกถึงสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น
          • ยานอวกาศลําแรกที่ลงบนดวงจันทร์ (ยานอพอลโล่ 11)
          • 6+9 จะได้คําตอบเท่าไร (15)
          • ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเขียวชอุ่มตลอดปีเรียกว่าอะไร (ป่าดงดิบ) ฯลฯ
     2.1.2 แบบทดสอบแบบเติมคํา มีลักษณะคุณสมบัติและการใช้คําเหมือนกับแบบตอบ
สั้นต่างกันที่การถาม แบบเติมคําจะเว้นช่องว่างไว้ให้เติมคําตอบ ตัวคําถามจะเป็นประโยคไม่สมบูรณ์ แต่แบบ ตอบสั้นจะเป็นประโยคสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น
         • ยานอวกาศลําแรกที่ลงบนดวงจันทร์………(ยานอพอลโล่ 11)
         • 6+9 =......................... (15)
         • ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเขียวชอุ่มตลอดปีเรียกว่า ............... (ป่าดงดิบ)
         2.2 ข้อสอบแบบเลือกคําตอบ ได้แก่
      2.2.1 ข้อสอบแบบถูก-ผิด เป็นข้อสอบที่กําหนดให้ผู้ตอบเลือกคําตอบว่าข้อความที่
กําหนดให้นั้นถูกหรือผิดเท่านั้น ข้อสอบแบบนี้เหมาะสําหรับวัดผลการเรียนรู้ระดับความรู้ความจําลักษณะ เช่นเดียวกับแบบตอบสั้น คือ สร้างความง่ายผู้ตอบเสียเวลาตอบน้อย วัดเนื้อหาได้มาก มักมีค่าความเที่ยงสูง แต่เปิดโอกาสให้เดาได้มาก ตัวอย่างเช่น
• ลายเสือไท ถือว่าเป็นมรดกอันยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรม •ตําบลเป็นหน่วยการ
ปกครองที่เล็กที่สุด
• ผิวพื้นที่ขรุขระจะมีแรงเสียดทานน้อยกว่าผิวพื้นที่เรียบ ฯลฯ
2.2.2 ข้อสอบแบบจับคู่ เป็นข้อสอบให้เลือกจับคู่ระหว่างคําหรือข้อความสองแถว ให้คํา
หรือข้อความทั้งสองนั้นสอดคล้องกัน โดยมากมักจะใช้ข้อความว่ามีความหมายตรงกัน ข้อสอบชนิดนี้เหมาะ สําหรับวัดความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงคําศัพท์ หลักการ ความสัมพันธ์ และการตีความในเรื่องเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
          •...............ก. ไม้กระดานที่พาดเอียงกับขอบรถ            1. ขวาน
          •...............ข. เครื่องผ่อนแรงที่ใช้ยกรถ                         2. คานดีด คานงัด
          •...............ค. เครื่องมือผ่อนแรงในการตัดต้นไม้           3. แม่แรง
          •...............ง. เครื่องมือผ่อนแรงในการยกของพื้นที่สูง   4.รอก
•................จ. ไม้กระดานกระดก                                    5. พื้นลาด พื้นเอียง 2.2.3 แบบทดสอบแบบเลือกตอบ เป็นข้อสอบที่บังคับให้ผู้ตอบเลือกคําตอบจากที่
กําหนดให้ ปกติจะมีคําตอบให้เลือกตั้งแต่ 3 ตัวเลือกขึ้นไป แต่มักไม่เกิน 6 ตัวเลือก ข้อสอบชนิดนี้นิยมใช้กัน ทั่วไป ใช้วัดผลการเรียนรู้ได้เกือบทุกระดับ แม้จะสร้างความยากต้องเสียเวลาสร้างมาก แต่คุ้มกับแรงงานและ เวลาที่เสียไป เพราะสามารถเก็บไว้ใช้ได้ต่อไป ตัวอย่างเช่น
  • What color is the tree?
a. Pink        b. Purple       C. Green
                          
      • พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระนามเดิมว่าอย่างไร
ก. พ่อขุนบางกลางหาว             ข. พ่อขุนศรีนาวนําถม
ค. พ่อขุนผาเมือง                       ง. พ่อขุนบานเมือง
กล่าวโดยสรุปแล้วแบบทดสอบหรือข้อสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนทั้ง แบบทดสอบ
แบบอัตนัยหรือความเรียง และแบบทดสอบแบบปรนัยต่างมีข้อดีและข้อจํากัดด้วย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่นําไปใช้ตามตารางที่ 23 ดังนี้






บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช  ผู้จั...