วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)



Marzano: (2012) ได้สรุปกลวิธีการการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้าง สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ไว้ดังตาราง

ตารางที่ 14 กลวิธีการการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
1)การกำหนดวัตถุประสงค์และให้ข้อมูลย้อนกลับ(Setting Objectives Feedback)
 2) เสริมแรงและสร้างความยอมรับ  (Reinforcing Effort and Providing Recognition)
3) การเรียนแบบร่วมมือ ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Cooperatives Learning)

ช่วยพัฒนาความเข้าใจของผู้เรียน(Helping students Develop Understanding)
1) ให้คําแนะนํา (Cues)
2) ใช้คําถาม (Questions)
3) ให้ความรู้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizes)
4) การแสดงออกโดยภาษากาย
    (Nonlinguistic Representations)
5) สรุปความและจดบันทึก
    (Summarizing and Note taking)
 6) มอบหมายการบ้านและให้ปฏิบัติ
    (Assigning Homework and Providing Practice)
ช่วยขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ของผู้เรียน
(Help students Extend and Apply Knowledge)
1) ระบุความเหมือนความแตกต่าง
     (Identifying Similarities and Differences)
2) สร้างและทดสอบสมมติฐาน
    (Generating and testing Hypotheses)
ตารางที่ 15 คําจํากัดความของกลยุทธ์การสอนคําสําคัญ
คำสำคัญ
ความหมาย
1) กําหนดวัตถุประสงค์และให้ข้อมูลย้อนกลับ (Setting Objectives Feedback)
การให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทิศทางในการเรียนรู้ เป้าหมายในการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ
2) การเสริมแรงและสร้างการยอมรับ (Reinforcing Effort and Providing Recognition)
การส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเรื่อง
- ความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามและความสำร็จ
โดยมุ่งสร้างทัศนคติที่ดีและความเชื่อมั่นในการเรียนรู้
 -สามารถให้การยอมรับและเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรม
ยกย่องในความสําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้
3) การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)

หมายถึง การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้
4) ให้คําแนะนํา,ใช้คําถามและมโนทัศน์ล่วงหน้า (Cues, Questions and Advance Organizes)
คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถจดจํา ใช้และจัดการกับ) ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา
5) การแสดงออกโดยภาษากาย
 (Nonlinguistic Representations)
หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนําเสนอและ
รายละเอียดในการแสดงถึงความรู้
6)สรุปความและจดบันทึก
 (Summarizing and Note taking)
หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูล และจัดการกับข้อมูลโดยสรุปสาระสำคัญและข้อมูลสนับสนุน
7) มอบหมายงานและให้ปฏิบัติ
(Assigning Homework and Providing Practice) 
หมายถึง การให้โอกาสผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ,ทบทวนและประยุกต์ใช้ความรู้ การสร้างเสริมให้นักเรียนได้เข้าถึงระดับของความเชี่ยวชาญในทักษะหรือกระบวนการที่คาดหวัง
8)ระบุความเหมียนความแตกต่าง
(Identifying Similarities and Differences)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจ และสามารถใช้ความรู้ กระบวนการทางปัญญาในการะบุหรือจําแนกสิ่งที่เหมือนและแตกต่าง
9) สร้างและทดสอบสมมติฐาน
(Generating and testing Hypotheses)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมนักเรียนเข้าใจและสามารถใช้ความรู้และกระบวนการทางปัญญาในการสร้างและทดสอบสมมติฐาน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช  ผู้จั...