การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (UDL:
Universal Design for Learning)
แนวคิด Universal Design เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนทุก
คนสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
การออกแบบมุ่งที่การใช้งานให้คุ้มค่า ครอบคลุมสําหรับผู้เรียนทุกคน
โดยคํานึงถึงโอกาสในการใช้งานอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นการนําแนวคิดการ
ออกแบบการเรียนรู้สากล (Universal Design for Learning) มาใช้ในจึงสามารถช่วยลดอุปสรรคต่อการเรียนรู้
ของผู้เรียนได้ และสร้างความยืดหยุ่นในการจัดการศึกษา
เพื่อสนองต่อผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันสามารถ เรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน
แนวคิดการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล (Universal
design for learning : UDL) เกี่ยวข้องกับการ
จัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ในยุคการศึกษา 4.0 จึงมีการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ
สนองตอบต่อความต้องการของผู้เรียนที่มีความต้องการหลากหลายและแตกต่างกัน
ประกอบไปด้วยหลักการ ที่สําคัญ 3 ประการ (Strangerman,
Hitchcock, Hall, Meo, & et al :2006) ได้แก่
1.
การสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อจดจํา
โดยการจัดหาวิธีการนําเสนอที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย
2.
เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ยุทธศาสตร์
โดยจัดหาวิธีการอธิบายหรือการแสดง ออกด้วยคําพูดที่ ยืดหยุ่นและหลากหลายและการเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า
3.
เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล
โดยการจัดหาทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นให้นักเรียน
มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตามหลักสูตร
ความสําคัญของการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
ซึ่งเป็น UDL มีความสําคัญอย่างยิ่งในการออกแบบการเรียนการสอน
ที่ประกอบไปด้วย จุดหมาย (goal) | วิธีการ (method) วัสดุอุปกรณ์ (materials) และการประเมินผลการเรียนรู้
(assessment) สําหรับผู้เรียนทุกคน
วิธีการใดวิธการหนึ่งเพียงวิธีเดียวจะไม่เหมาะสมกับทุกการแก้ปัญหา
แต่จะเป็นการออกแบบที่มีวิธีการที่ ความยืดหยุ่น
สามารถปรับแต่งได้และปรับตามความต้องการของบุคคล แต่ละบุคคลต่างมีความหลากหลาย
ของทักษะ ความต้องการและความสนใจที่จะเรียนรู้
ทางด้านประสาทวิทยากล้าวได้ว่าคล้ายกับกระบวนการ
ทำงานของสมอง
3
ส่วน ดังนี้ 1. และจัดประเภทของสิ่งที่เราบอ เป็นการรับรู้สิ่งที่จะเรียน
(Strategic Networks) การวางแผน ของเรา การเขียนเรียงควา
เมต้องการและความสนใจที่จะเรียนรู้
ทางด้านประสาทวิทยากล่าวได้ว่าคล้ายกับระบบการ เอง 3 ส่วน ดังนี้ 1)
เครือข่ายการรับรู้ (Recognition Networks) วิธีการที่เรารวบรวมข้อเท็จจริง
ทของสิ่งที่เรามองเห็นได้ยินและอ่าน
ตัวอักษรระบุคําหรือลักษณะของผู้เขียนเป็นภาระงานที่ สิ่งที่จะเรียน
(อะไรคือสิ่งที่ต้องเรียนรู้: The "what" of learning ) 2) เครือข่ายเชิงกลยุทธ์
Networks) การวางแผนและการปฏิบัติงาน
วิธีการที่เราจัดระเบียบและแสดงหลักฐานทางความคิด
จรเขียนเรียงความหรือการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ต่างถือเป็นงานเชิงกลยุทธ์
("วิธีการ" ของการ ๕.๐ "bow" of
learning) และ 3) เครือข่าย (Affective
Networks) จะมีวิธีเรียนรู้อย่างไรที่จะกระตุ้นและ แรงบันดาลใจ
เป็นสิ่งที่ท้าทายและเร้าความสนใจของผู้เรียน เป็นมิติอารมณ์ ("ทําไม" ของการเรียนรู้:The “why” of
learning)
การออกแบบที่เป็นสากลเพื่อการเรียนรู้จึงเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
ซึ่งถือว่าเป็น อีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ
ระดับในการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล
การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล จัดเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 การนําเสนอ
การจัดการเรียนรู้ตามหลักการการออกแบบที่เป็นสากลเพื่อการเรียนรู้ (UDL) ควรใช้รูปแบบการนําเสนอที่หลากหลายวิธี ได้แก่
-
การใช้ข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง
หรือข้อมูลที่สัมผัสได้ - การใช้ภาษาและสัญลักษณ์ที่หลากหลาย
-
การให้โอกาสผู้เรียนได้ทําความเข้าใจบทเรียนและทบทวนความรู้นั้น
ระดับที่ 2 การสื่อสาร
การให้ผู้เรียนได้แสดงออกในการเรียนรู้ ซึ่งมีหลากหลายวิธีการ ได้แก่
-
การใช้ภาษากาย - การพูด การสนทนาโต้ตอบ
-
การใช้การทํางานของสมองระดับสูง (Executive Function)
ระดับที่ 3 การมีส่วนร่วม
เป็นการเสริมสร้างแรงจูงใจ ได้แก่
-
การพยายามชักจูงความสนใจ โดยให้อิสระในการเลือก
-
สนับสนุนให้ใช้ความพยายามในการทางาน
-
เสริมสร้างทักษะการกํากับตนเอง (Self-regulation)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น