วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562

การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ


การสอนที่มีประสิทธิภาพ

 การสอนที่มีประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบที่ควรคำนึงถึงดังนี้

1. การบริหารจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพมีลักษณะดังนี้
1) การจัดเตรียมสถานที่ สื่อ อุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนให้มีสภาพที่พร้อมใช้และเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคนในห้อง
2) การใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนที่ดีขึ้นอยู่กับการใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ครูไม่ควรปล่อยให้มีเวลาว่างหรือเวลาที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์อันเนื่องจากความไม่พร้อมในด้านวัสดุอุปกรณ์และการดำเนินกิจกรรมที่ไม่ได้เตรียมการล่วงหน้า เพราะความไม่พร้อมจะทำให้เกิดความวุ่นวาย เสียเวลาในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากและทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ครูต้องบริหารการใช้เวลาเพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาเพื่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่

2.การจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบคือการดำเนินการเรียนการสอนให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการดังนี้

1)เริ่มต้นบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพโดยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจซึ่งทำได้หลายวิธีวิธีที่กระตุ้นกระบวนการคิดและสติปัญญา ก็คือการสร้างความสงสัย ประหลาดใจให้กับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมี

ความกระตือรือร้น อยากค้นพบคำตอบเช่น การนำเสนอข้อมูลหรือความคิดที่ขัดแย้ง ไม่สอดคล้องกับความรู้ความเข้าใจเดิมของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดข้อสงสัย กังขาการใช้คำถามที่ส่งเสริมกระบวนการคิดเป็นต้น

2)ดำเนินการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นขั้นที่ครูจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งทิศนาแขมมณี (2555,หน้า120) ได้ให้  ความหมายว่า  เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้งโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะได้รับและมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้อย่างตื่นตัวและได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ อันจะนำผู้เรียนไปสู่การเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงดังนั้นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจึงมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้

(1)กิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัว ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทอย่างเต็มที่และ

รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเอง

(2)กิจกรรมที่ท้าทายให้ผู้เรียนกระตือรือร้นในการค้นหาคำตอบ โดยครูนำเสนอ

ปัญหาและสถานการณ์ให้คิด ครูมีบทบาทช่วยชี้ช่อง แนะแนวให้นักเรียนเห็นลู่ทางในการแก้ปัญหา

(3)กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบ

(4)กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีการร่วมมือและการแลกเปลี่ยน

ความรู้ความคิดเห็นตลอดจนประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนเพื่อปรับเติม เสริมแต่ง และต่อยอดความรู้

(5)กิจกรรมที่สร้างความสะเทือนใจ ซาบซึ้ง ประทับใจ ทำให้ตื่นตัวในการเรียนรู้

(6)กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้ทรงภูมิปัญญาในท้องถิ่น

(7)กิจกรรมที่ผู้เรียนได้นำความรู้ไปทดลองใช้แก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ชิ้นงาน

(8)กิจกรรมที่ผู้เรียนใช้กระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลที่ได้รับรู้เพื่อให้เข้าใจและ

จดจำได้ง่ายและสามารถระลึกได้เมื่อต้องการนำมาใช้

(9)กิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ในบริบทจริง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงบทบาทที่สำคัญของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่การเป็นผู้เตรียมการและอำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ การท าหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ

ปรึกษาเป็นผู้ช่วยเหลือเป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับบทบาทของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้ก็คือบทบาทที่ทำหน้าที่เหมือนโค้ชนักกีฬานั่นเอง

 คุณลักษณะของครู

คอชัคและเอกเกน (Kauchak & Eggen, 2007, p. 127) กล่าวว่า ครูที่ดีควรมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ มีทัศนคติที่ดีในการสอน

มีทักษะในสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และมีทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ลักษณะดังกล่าวส่งผลต่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอน ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นแนะนาบทเรียน ช่วงตอนกลางของบทเรียน และช่วงปิดท้ายบทเรียน ดังนั้นคุณลักษณะขอครูจึงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในห้องเรียน

1.ทัศนคติของครูเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเป็นครูที่ดีเพราะทัศคติของครูมีอิทธิพลต่อการสอนและการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก ทัศนคติของครูประกอบด้วยประสิทธิภาพทางการสอนของครู การเป็นแบบอย่างและความกระตือรือร้นของครู และความคาดหวังของครู ทั้งสามสิ่งนี้ส่งผลต่อทัศนคติในการสอนของครู

(Brunning et al., 2004)

2.ทักษะในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพการใช้ภาษาของครูมีผลต่อความสำเร็จในการเรียนของนักเรียนและความพึงพอใจในการเรียน การสื่อสารที่ชัดเจนมีองค์ประกอบ 5 อย่าง ได้แก่

1)การใช้คำศัพท์ที่สื่อความหมายได้ใช้เจน โดยครูควรหลีกเลี่ยงการใช้คำที่คลุมเครือเวลาสื่อสารกับเด็กเนื่องจากคำเหล่านั้นทำให้ประสิทธิภาพทางการเรียนของเด็กลดลงและยังแสดงให้เห็นว่าครูเตรียมตัวมาไม่ดี

2)การใช้คำเชื่อมประโยคที่เหมาะสม การสื่อสารที่ดีต้องมีคำเชื่อมที่นำไปสู่ใจความสำคัญของประโยค คำเชื่อมที่ถูกต้องจะทำให้ลำดับเหตุการณ์ของประโยคเชื่อมโยงกันอย่างสมเหตุสมผล

3)การเชื่อมโยงความคิดในบทเรียน ครูต้องทำให้นักเรียนเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดที่หนึ่งและความคิดที่สองโดยการอธิบายความเชื่อมต่อนั้น
4)การเน้นย้ำครูควรเน้นย้ำหัวข้อหรือเนื้อหาที่มีความสำคัญหรือโดดเด่นกว่าเนื้อหาอื่น ๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เห็นถึงระดับความสำคัญที่ต่างกันของเนื้อหาในบทเรียน
5)ความสอดคล้องของภาษาพูดและภาษากาย การใช้ภาษากายประกอบการพูดควรเป็นไปในแนวทางเดียวกับสิ่งที่ครูพูด ภาษากายมีความสำคัญเนื่องจากเด็กสามารถประเมินทัศนคติและความจริงใจของครูได้ผ่านทางการแสดงออกของครู ดังนั้นเมื่อครูต้องการจูงใจนักเรียน หรือบอกให้นักเรียนทำอะไร ครูต้องใช้ภาษาพูดและภาษากายที่สอดคล้องกัน

3.ทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนที่ดีนั้นต้องเริ่มจากการตรงต่อเวลา ครูจำเป็นต้องแบ่งเวลาการท ากิจกรรมอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบต่อกิจกรรมอื่น ๆการเตรียมอุปกรณ์การสอนล่วงหน้าก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง นอกจากนี้ครูยังต้องสร้างกิจวัตรที่ดีให้กับนักเรียน เช่น เมื่อเด็กเข้ามาในห้องเรียน เด็กต้องรู้ว่าสิ่งแรกที่ควรทำคืออะไร และเมื่อเลิกเรียนต้องทำอะไร การจัดการห้องเรียนที่มีระบบจะช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ในห้องเรียน เช่นการสอนไม่ทันและความไม่เป็นระเบียบในห้องเรียน


โดยสรุป

การเป็นครูที่ดีควรเริ่มจากการมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอน เพราะทัศนคติจะส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ของครู และปฏิสัมพันธ์ของครูต่อนักเรียน ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเพราะนักเรียนสามารถรับรู้ได้โดยอัตโนมัติว่าครูคิดอย่างไรและต้องการอะไรเพื่อที่จะตอบสนองไปตามความต้องการของครูนอกจากนั้นนักเรียนยังยึดถือครูเป็นแบบอย่าง โดยการเลียนแบบการกระทำ และคำพูดของครู การมีทัศนคติที่ดีจึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของคุณลักษณะอื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช  ผู้จั...