วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล


รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล

ความหมายของรูปแบบ(Model)
            รูปแบบเป็นรูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ้งบุคลลสดงออกมาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น เป็นคำอธิบาย เป็นแผนผัง ไดอะแกรม หรือแผนภาพ เพื่อช่วยให้ตนเองและบุคคลอื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจน
Keeves J.(1997 : 386-387) กล่าวว่า รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

1. รูปแบบจะต้องนำไปสู่การทำนาย (prediction) ผลที่ตามมาซึ่งสามารถพิสูจน์ทดสอบได้ กล่าวคือ สามารถนำไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้
2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์/เรื่องนั้นได้
3. รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination) ความคิดรวบยอด (concept)และความสัมพันธ์ (interrelations) รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตของการสืบเสาะความรู้
4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationships) มากกว่า ความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง (associative relationships) 
รูปแบบ (Model) ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป
มี 4 แบบ หรือ 4 ลักษณะ คือ (Kaplan, 1964 อ้างถึงใน Keeves, 1997 : 386 – 387)
1. รูปแบบเชิงเปรียบ (Analogue Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออก ของการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ อย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทาง กายภาพ สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
2. รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) ได้แก่ ความคิดแสดงออกผ่านทางการ (พูดและเขียน) รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านศึกษาศาสตร์
3. รูปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออก สูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
4. รูปแบบเชิงแผนผัง (Schernatic Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางแยก แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
5. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพัน เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆ ของสถานการณ์ปัญหาใดๆ รูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ มักจะเป็น แบบนี้เป็นส่วนใหญ่
            ทิศนา แขมมณี (2550 : 3-4) กล่าวว่า รูปแบบการสอน หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการ จัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างมีระบบระเบียบ มีแบบแผนตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่างๆ โดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ เข้ามาช่วยให้สภาพการเรียน การสอนนั้นเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ ดังนั้น
คุณลักษณะสำคัญของรูปแบบการสอนจึงต้อง ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

1. มีปรัชญาหรือทฤษฎีหรือหลักการหรือแนวคิดหรือความเชื่อ ที่เป็นพื้นฐานหรือเป็น หลักการของรูปแบบการสอนนั้นๆ
2. มีการบรรยายหรืออธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอน
3. มีการจัดระบบ คือ มีการจัดองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบให้ สามารถนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการพิสูจน์ ทดลองถึงประสิทธิภาพของ ระบบนั้นดังนั้น รูปแบบการเรียนการสอนจึงหมายถึง สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอน ที่จัดไว้อย่างเป็นระเบียบตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิดหรือความเชื่อต่างๆ โดยมีการจัด กระบวนการหรือขั้นตอนในการเรียนการสอน โดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ เข้ามาช่วย ทำให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบหรือยอมรับ ว่ามีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแบบแผนในการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะของ รูปแบบนั้นๆ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน กล่าวคือ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain)การพัฒนาด้านจิตพิสัย (affective domain) การ พัฒนาด้านทักษะพิสัย (psychomotor domain)การพัฒนาด้านทักษะกระบวนการ (process skills) หรือ การบูรณาการ (integration) ทั้งนี้รูปแบบดังกล่าวล้วนเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มี ลักษณะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี ได้คัดเลือกมานำเสนอ ล้วนได้รับการพิสูจน์ทดสอบประสิทธิภาพมาแล้วและมีผู้นิยมนำไปใช้ในการเรียนการสอนโดยทั่วไป แต่ เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการนำไปใช้ จึงได้ จัดหมวดหมู่ของรูปแบบเหล่านั้นตามลักษณะของวัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้เป็น 5 หมวดดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย(cognitive domain)
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย(affective domain)

3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย(psycho-motor domain)

4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(process skill)

5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ(integration)
 
เนื่องจากจำนวนรูปแบบและรายละเอียดของแต่ละรูปแบบมากเกินกว่าที่จะนำเสนอไว้ในที่นี้ได้ทั้งหมด จึงได้คัดสรรและนำเสนอเฉพาะรูปแบบที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี ประเมินว่าเป็นรูปแบบที่จะ เป็นประโยชน์ต่อครูส่วนใหญ่และมีโอกาสนำไปใช้ได้มาก โดยจะนำเสนอเฉพาะสาระที่เป็นแก่นสำคัญของ รูปแบบ 4 ประการ คือ ทฤษฎีหรือหลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบกระบวนการของรูปแบบ และผลที่จะได้รับจากการใช้รูปแบบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านได้ภาพรวมของรูปแบบ อันจะช่วยให้สามารถตัดสินใจ ในเบื้องต้นได้ว่าใช้รูปแบบใดตรงกับความต้องการของตน หากตัดสินใจแล้ว ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมใน รูปแบบใด สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือซึ่งให้รายชื่อไว้ในบรรณานุกรม
รูปแบบการเรียนการสอนที่นำเสนอนี้ ล้วนเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทั้งสิ้น เพียงแต่มีความแตกต่างกันตรงจุดเน้นของด้านที่ต้องการพัฒนาในตัวผู้เรียนและปริมาณของการมีส่วน ร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งมีมากน้อยแตกต่างกัน
การสอนแต่ละครั้งมักประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้งทางด้าน พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย รวมทั้งทักษะกระบวนการทางสติปัญญา เพราะองค์ประกอบทั้งหมดมีความ เกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด การจัดหมวดหมู่ของรูปแบบเป็นเพียงเครื่องแสดงให้เห็นว่า รูปแบบนั้น มีวัตถุประสงค์ หลักมุ่งเน้นไปทางใดเท่านั้น แต่ส่วนประกอบด้านอื่น ๆ ก็ยังคงมีอยู่ เพียงแต่จะมีน้อยกว่าจุดเน้นเท่านั้น 



รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย


รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย
2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (Affective Domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม คุณธรรมและจริยธรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากแก่การพัฒนา หรือปลูกฝัง การ จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนที่เพียงช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มักไม่เพียงพอต่อการช่วย ให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีได้ จําเป็นต้องอาศัยหลักการและวิธีการอื่นๆ เพิ่มเติม รูปแบบที่คัดสรรมานําเสนอ ในที่นี้มี 4 รูปแบบดังนี้
2.รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของ แครทโวลบลม และมาเซีย
2.รูปแบบการเรียนการสอนโดยการซักค้าน 2.รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ 2.รูปแบบการเรียนการสอนโดยวิธีทําความกระจ่างในค่านิยม
2.รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของแครทโวลบลูม และมาเซีย (Instructional Model Based on Affective Domain by Krathwohl, Bloom and Masia)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
แครทโวลบลมและมาเซีย (Bloom, 1956) ได้จําแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษา ออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านความรู้ (cognitive domain) ด้านเจตคติหรือความรู้สึก (affective domain) และ ด้านทักษะ (psychomotor domain) ซึ่งในด้านเจตคติหรือความรู้สึกนั้น บลูม ได้จัดลําดับขั้นตอนของการ เรียนรู้ ไว้ 5 ขั้นตอน
1. ขั้นการรับรู้ (receiving or attending) ซึ่งก็หมายถึงการที่ผู้เรียนได้รับรู้ค่านิยมที่ ต้องการจะปลูกฝังในตัวผู้เรียน
2. ขั้นการตอบสนอง (responding) ได้แก่ การที่ผู้เรียนได้รับรู้และเกิดความสนใจ ในค่านิยมนั้น แล้วเกิดเห็นคุณค่าของค่านิยมนั้น แล้วมีโอกาสได้ตอบสนองในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
3. ขั้นการเห็นคุณค่า (valuing) เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับค่านิยม นั้น แล้วเกิดเห็นคุณค่าของค่านิยมนั้น ทําให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อค่านิยมนั้น
4. ขั้นการจัดระบบ (organization) เป็นขั้นที่ผู้เรียนรับค่านิยมที่ตนเห็นคุณค่านั้น เข้ามาอยู่ในระบบค่านิยมของตน
5. ขั้นการสร้างลักษณะนิสัย (characterization) เป็นขั้นที่ผู้เรียนปฏิบัติตนตาม ค่านิยมที่ตนรับมาอย่างสม่ําเสมอและทําจนเป็นนิสัย
ถึงแม้ว่าบลูมได้เสนอแนวคิดดังกล่าวเพื่อใช้ในการกําหนดวัตถุประสงค์ ในการเรียนการสอนก็ตาม แต่ก็สามารถนํามาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อช่วยปลูกฝังค่านิยม ที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียนได้
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
อข่ายให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความรู้สึก/เจตคติ/ค่านิยม คุณธรรม หรือ จริยธรรม ที่พึงประสงค์ อันจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เป็นไปตามความต้องการ
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
การสอนเพื่อปลูกฝังค่านิยมใดๆ ให้แก่ผู้เรียน สามารถดําเนินการตามลําดับขั้น ของวัตถุประสงค์ทางด้านเจตคติของ
บลูมได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 การรับรู้ค่านิยม (receiving/attending)
ผู้สอนจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับรู้ในค่านิยมนั้นอย่าง ใส่ใจ เช่น เสนอกรณีตัวอย่างที่เป็นประเด็นปัญหาขัดแย้งเกี่ยวกับค่านิยมนั้น คําถามที่ท้าทายความคิด เกี่ยวกับค่านิยมนั้น เป็นต้น ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การรู้ตัว (awareness)
2. การเต็มใจรับรู้ (wilingness)
3. การควบคุมการรับรู้ (control)
ขั้นที่ 2 การตอบสนองต่อค่านิยม (responding)
ผู้สอนจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบสนองต่อค่านิยมนั้นในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง เช่น ให้พูดแสดงความคิดเห็นต่อค่านิยมนั้น ให้ลองทําตามค่านิยมนั้น ให้สัมภาษณ์หรือ พูดคุยกับผู้ที่มีค่านิยมนั้น เป็นต้น ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การยินยอมตอบสนอง (acquiescence in responding)
2. การเต็มใจตอบสนอง (willingness to respond)
3. ความพึงพอใจในการตอบสนอง (satisfaction in response)
ขั้นที่ 3 การเห็นคุณค่าของค่านิยม (valuing)
ผู้สอนจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าของค่านิยม นั้น เช่น การให้ลองปฏิบัติตามค่านิยมแล้วได้รับการตอบสนองในทางที่ดี เห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตน หรือบุคคลอื่นที่ปฏิบัติตามค่านิยมนั้น เห็นโทษและได้รับโทษจากการละเลยไม่ปฏิบัติตามค่านิยมนั้น เป็นต้น ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การยอมรับในคุณค่านั้น (acceptance of a value)
2. การชื่นชอบในคุณค่านั้น (preference for a value)
3. ความผูกพันในคุณค่านั้น (commitment)
ขั้นที่ 4 การจัดระเบียบค่านิยม (organization)
เมื่อผู้เรียนเห็นคุณค่าของค่านิยมและเกิดเจตคติที่ดีต่อค่านิยมนั้น และมีความโน้ม เอียงที่จะรับค่านิยมนั้นมาใช้ในชีวิตของตน ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนพิจารณาค่านิยมนั้นกับค่านิยม
หรือคุณค่าอื่นๆ ของตน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมต่างๆ ของตน ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายาม กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การสร้างมโนทัศน์ในคุณค่านั้น (conceptualization of value) 2. การจัดระบบคุณค่านั้น (organization of a value system) ขั้นที่ 5 การสร้างลักษณะนิสัย (characterization by value)
ผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติตนตามค่านิยมนั้นอย่างสม่ําเสมอ โดยยึดตามผล การปฏิบัติ และให้ข้อมูลป้อนกลับและการเสริมแรงเป็นระยะๆ จนกระทั้งผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จน เป็นนิสัย ในขั้นนี้ผู้สอนควรพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมดังนี้
1. การมีหลักยึดในการตัดสินใจ (generalization set) 2. การปฏิบัติตามหลักยึดนั้นจนเป็นนิสัย (characterization)
การดําเนินงานตามขั้นตอนทั้ง 5 ไม่สามารถทําได้ในระยะเวลาอันสั้น ต้องอาศัย เวลา โดยเฉพาะขั้นที่ 4 และ 5 ต้องการเวลาและประสบการณ์ ซึ่งอาจจะมากน้อยแตกต่างกันไปในผู้เรียน แต่ละคน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะได้รับการปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์จนถึงระดับที่สามารถปฏิบัติได้ จนเป็นนิสัย นอกจากนั้นผู้เรียนยังได้เรียนรู้กระบวนการในการปลูกฝังค่านิยมให้เกิดขึ้น ซึ่งผู้เรียน สามารถนําไปใช้ในการปลูกฝังค่านิยมอื่นๆ ให้แก่ตนเองและผู้อื่นต่อไป

2.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยการซักค้าน (Jurisprudential Model)
ก. ทฤษฎีหลักการแนวคิดของรูปแบบ
จอยส์ และวีล (Joyce & Well, 1996 : 106 128) พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นจากแนวคิด ของโอลิเวอร์และเชเวอร์ (Oliver and Shaver) เกี่ยวกับการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดในประเด็นปัญหา ขัดแย้งต่างๆ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวพันกับเรื่องค่านิยมที่แตกต่างกัน ปัญหาดังกล่าวอาจเป็นปัญหาทางสังคม หรือ ปัญหาส่วนตัว ที่ยากแก่การตัดสินใจ การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด ก็คือการสามารถเลือกทางที่เป็น ประโยชน์มากที่สุด โดยกระทบต่อสิ่งอื่นๆ น้อยที่สุด ผู้เรียนควรได้รับการฝึกฝนให้รู้จักวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น วิเคราะห์หาค่านิยมที่อยู่เบื้องหลังปัญหา ประมวลข้อมูล ตัดสินใจเลือกทางเลือกอย่างมีเหตุผล และแสดงจุดยืนของตนได้ ผู้สอนสามารถใช้กระบวนการซักค้าน อันเป็นกระบวนการที่ใช้กันในศาล มาทดสอบผู้เรียนว่าจุดยืนที่ตนแสดงนั้นเป็นจัดยืนที่แท้จริงของตน หรือไม่ โดยการใช้คําถามซักค้านที่ช่วยให้ผู้เรียนคิดย้อนกลับไปพิจารณาความคิดเห็นอันเป็นจุดยืนของ ตน ซึ่งอาจทําให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนความคิดเห็นเป็นหรือจุดยืนของตนหรือยืนยันจุดยืนของตนอย่างมั่นใจขึ้น
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้เหมาะสําหรับการสอนสาระที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาขัดแย้ง ต่างๆ ซึ่งยากแก่การตัดสินใจ การสอนตามรูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการตัดสินใจอย่างชาญ ฉลาด รวมทั้งวิธีการในการทําความกระจ่างในความคิดของตน
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 นําเสนอกรณีปัญหา
ประเด็นปัญหาที่นําเสนอควรเป็นประเด็นที่มีทางออกให้คิดได้หลายคําตอบ ควร เป็นประโยคที่มีคําว่า ควรจะ...เช่น ควรมีกฎหมายให้มีการทําแท้งได้อย่างเสรีหรือไม่ควรมีการจด ทะเบียนโสเภณีหรือไม่ควรออกกฎหมายห้ามคนสูบบุหรี่หรือไม่ควรอนุญาตให้นักเรียนประกวด นางงามหรือไม่อย่างไรก็ควรหลีกเลี่ยงประเด็น ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกัน
วิธีที่นําเสนออาจจะทําได้หลายวิธี เช่น การอ่านเรื่องให้ฟัง การให้ดูภาพยนตร์ การเล่าประวัติความเป็นมา ครูต้องระลึกอยู่เสมอว่าการนําเสนอปัญหานั้นต้องทําให้นักเรียนได้รู้ ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหารู้ว่าใครทําอะไร เมื่อไหร่ เพราะเหตุใด และมีแง่มุมของปัญหาที่ขัดแย้ง กันอย่างไร ให้ผู้เรียนประมวลข้อเท็จจริงจากกรณีปัญหาและวิเคราะห์หาค่านิยมที่เกี่ยวข้องกัน
ขั้นที่ 2 ให้ผู้เรียนแสดงจุดยืนของตนเอง ผู้เรียนเลือกจุดยืนของตนเองว่าจะเข้ากับฝ่ายใดและบอกเหตุผลของการเลือก ขั้นที่ 3 ผู้สอนซักค้านจุดยืนของผู้เรียน ผู้สอนใช้คําถามที่มีลักษณะดังตัวอย่างต่อไปนี้
3.1 ถ้ามีจุดยืนอื่นๆ ให้เลือกอีก ผู้เรียนยังยืนยันที่จะเลือกจุดยืนเดิมหรือไม่ เพราะอะไร
3.2 หากสถานการณ์เปลี่ยนไป ผู้เรียนยังจะยืนยันที่จะเลือกจุดยืนเดิมหรือไม่ เพราะอะไร
3.3 ถ้าผู้เรียนต้องเผชิญกับสถานการณ์อื่นๆ จะยังยืนยันจุดยืนนี้หรือไม่
3.4. ผู้เรียนมีเหตุผลอะไรที่ยึดมั่นกับจุดยืนนั้น จุดยืนนั้นเหมาะสมกับ สถานการณ์ที่เป็นปัญหานั้นหรือไม่
3.5 เหตุการณ์ที่ยึดมั่นกับจุดยืนนั้นเป็นเหตุผลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ที่เป็นอยู่หรือไม่
3.6 ผู้เรียนมีข้อมูลเพียงพอที่จะสนับสนุนจุดยืนนั้นหรือไม่
3.7 ข้อมูลที่ผู้เรียนใช้เป็นพื้นฐานของจุดยืนนั้นถูกต้องหรือไม่
3.8 ถ้ายึดจุดยืนนี้แล้วผลที่เกิดขึ้นตามมาคืออะไร
3.9 เมื่อรู้ผลที่จะเกิดตามมาแล้ว ผู้เรียนยังยืนยันที่จะยึดถือจุดนี้อีกหรือไม่
ขั้นที่ 4 ผู้เรียนทบทวนจุดยืนในค่านิยมของตนเอง
ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือยืนยันในค่านิยมที่ยึดถือ
ขั้นที่ 5 ผู้เรียนตรวจสอบและยืนยันจุดยืนใหม่-เก่าของตนอีกครั้ง และผู้เรียน พยายามหาข้อเท็จจริงต่างๆ มาสนับสนุนค่านิยมของตน เพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ตนยึดถืออยู่นั้นเป็นค่านิยมที่ แท้จริงของตน
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความกระจ่างในความคิดของตนเองเกี่ยวกับค่านิยม และเกิดความ เข้าใจในตนเอง รวมทั้งผู้สอน ได้เรียนรู้และเข้าใจความคิดของผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียน มีการมองโลกใน แง่มุมกว้างขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจของผู้เรียนด้วย
2.3 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ (Role Playing Model)
ก. ทฤษฎี หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ พัฒนาขึ้นโดยแชฟเทล และแชฟ เทล (Shaftel and Shaftel, 1967 : 67 - 71) ซึ่งให้ความสําคัญกับปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล เขากล่าว ว่า บุคคลสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ความรู้สึกนึกคิดและค่านิยมต่างๆ ของบุคคล เป็นผลมาจากการที่บุคคลมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง และได้สั่งสมไว้ภายใน ลึกๆ โดยที่บุคคลอาจไม่รู้ตัวเลยก็ได้ การสวมบทบาทสมมติเป็นวิธีการที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงความรู้สึก นึกคิดต่างๆ ที่อยู่ภายในออกมา ทําให้สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่เปิดเผยออกมา และนํามาศึกษาทําความเข้าใจกันได้ ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เกิดความเข้าใจในตนเอง ในขณะเดียวกัน การที่บุคคลสวม บทบาทของผู้อื่น ก็สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความคิด ค่านิยม และพฤติกรรมของผู้อื่นได้ เช่นเดียวกัน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในตนเอง เข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมของ ผู้อื่น และเกิดการปรับเปลี่ยนเจตคติ ค่านิยม และพฤติกรรมของตนให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ขั้นที่ 1 นําเสนอสถานการณ์ปัญหาและบทบาทสมมติ ผู้สอนนําเสนอสถานการณ์ ปัญหา และบทบาทสมมติ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับความเป็นจริงและมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัย และความสามารถของผู้เรียน บทบาทสมมติที่กําหนด จะมีรายละเอียดมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเปิดเผยความคิดความรู้สึกของตนมาก บทบาทที่ ให้ควรมีลักษณะเปิดกว้าง กําหนดรายละเอียดให้น้อย แต่ถ้าต้องการจะเจาะประเด็นเฉพาะอย่าง บทบาท สมมติอาจกําหนดรายละเอียดควบคุมการแสดงของผู้เรียนให้มุ่งประเด็นเฉพาะนั้น
ขั้นที่ 2 เลือกผู้แสดง ผู้สอนและผู้เรียนจะร่วมกันเลือกผู้แสดง หรือให้ผู้เรียน อาสาสมัครก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และการวินิจฉัยของผู้สอน
ขั้นที่ 3 จัดฉาก การจัดฉากนั้นจัดได้ตามความพร้อมและสภาพการณ์ที่เป็นอยู่
ขั้นที่ 4 เตรียมผู้สังเกตการณ์ ก่อนการแสดงผู้สอนจะต้องเตรียมผู้ชมว่า ควร สังเกตอะไร และปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
ขั้นที่ 5 แสดง ผู้แสดงมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะทําให้ผู้ชมเข้าใจ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ ผู้แสดงจะต้องแสดงออกตามบทบาทที่ตนได้รับให้ดีที่สุด
ขั้นที่ 6 อภิปรายและประเมินผล การอภิปรายผลส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นกลุ่มย่อย การอภิปรายจะเป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ การแสดงออกของผู้แสดง และควรเปิด โอกาสให้ผู้แสดงได้แสดงความคิดเห็นด้วย
ขั้นที่ 7 แสดงเพิ่มเติม ควรแสดงเพิ่มเติม หากผู้เรียนเสนอแนะทางออกอื่น นอกเหนือจากที่ได้แสดงไปแล้ว
ขั้นที่ 3 อภิปรายและประเมินผลอีกครั้ง หลักจากการแสดงเพิ่มเติม กลุ่มควร อภิปราย และอภิปรายผลเกี่ยวกับการแสดงครั้งใหม่ด้วย
ขั้นที่ 9 แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุปการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสรุปผลการ อภิปรายของกลุ่มตน และหาข้อสรุปรวม หรือการเรียนรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับความรู้สึก ความคิดเห็น ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรมของบุคคล
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ความคิดเห็น ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ของผู้อื่น รวมทั้งมีความเข้าใจในตนเองมากขึ้น

รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย


รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย
1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
รูปแบบการเรียนการสอนในหมวดนี้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียน เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระต่างๆ ซึ่งเนื้อหาสาระนั้นอาจอยู่ในรูปของข้อมูล ข้อเท็จจริง มโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอด รูปแบบที่คัดเลือกมานําเสนอในที่นี้มี 5 รูปแบบดังนี้
1.รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์
1.รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย
1.รูปแบบการเรียนการสอนโดยการนําเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า
1.รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจํา 1.รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังความคิด
1.รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
      ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
             จอยส์และวีล (Joyce & Weil, 1996 : 161 -178) พัฒนารูปแบบนี้ขึ้นโดยใช้ แนวคิดของบรุนเนอร์ยึดนาว และออสติน (Bruner, Goodnow, and Austin) เกี่ยวกับการเรียนรู้มโนทัศน์ Ñ 21 Concept attainment is the search for and listing of attributes that can be used to distinguish exemplars from nonexemplars of various categories” (Bruner et al., 1967: 233) ซึ่งหมายความว่า การเรียนรู้มโนทัศน์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น สามารถทําได้โดยการค้นหาคุณสมบัติ เฉพาะที่สําคัญของสิ่งนั้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการจําแนกสิ่งที่ใช่และไม่ใช่สิ่งนั้นออกจากกันได้
   ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ของเนื้อหาสาระต่างๆ อย่างเข้าใจ และ สามารถให้คํานิยามของมโนทัศน์นั้นด้วยตนเอง
  ค. กระบวนการเรียนการสอนรูปแบบ
ขั้นที่ 1 ผู้สอนเตรียมข้อมูลสําหรับให้ผู้เรียนฝึกหัดจําแนก
              1. ผู้สอนเตรียมข้อมูล 2 ชุด ชุดหนึ่งเป็นตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน อีกชุดหนึ่งไม่ใช้ตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน
               2. ในการเลือกตัวอย่างข้อมูล 2 ชุดข้างต้น ผู้สอนจะต้องเลือกหาตัวอย่างที่มีจํานวนมากพอที่จะครอบคลุม ลักษณะของมทัศน์ที่ต้องการนั้น
               3. ถ้ามโนทัศน์ที่ต้องการสอนเป็นเรื่องยากและซับซ้อนหรือเป็นนามธรรมอาจใช้วิธีการยกเป็นตัวอย่างเรื่องสั้นๆ ที่ผู้สอนแต่งขึ้นเองนําเสนอแกผู้เรียน
               4. ผู้สอนเตรียมสื่อการสอนที่เหมาะสมจะใช้ประกอบการนําเสนอตัวอย่าง
มโนทัศน์เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะต่างๆ ของมโนทัศน์ที่ต้องการสอนอย่างชัดเจน
ขั้นที่ 2 ผู้สอนอธิบายกติกาในการเรียนให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจตรงกัน ผู้สอนชี้แจง วิธีการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนเริ่มกิจกรรม โดยอาจสาธิตวิธีการและให้ผู้เรียนลองทําตามที่ผู้สอนบอล จนกระทั้งผู้เรียนเกิดความเข้าใจพอสมควร
ขั้นที่ 3 ผู้สอนเสนอข้อมูลตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน และข้อมูลที่ไม่ใช้ ตัวอย่างของมโนทัศน์ที่ต้องการสอน
การนําเสนอข้อมูลตัวอย่างนี้ทําได้หลายแบบแต่ละแบบมีจุดเด่น จุดด้อย
ดังต่อไปนี้
1. นําเสนอข้อมูลที่เป็นตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนทีละข้อมูลจนหมดทั้งชุด โดย บอกให้ผู้เรียนรู้ว่าเป็นตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนแล้วตามด้วยการเสนอข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะ สอนทีละข้อมูล จนครบหมดทั้งชุดเช่นกันโดยบอกให้ผู้เรียนรู้ว่าตัวอย่างชุดหลังนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะสอน ผู้เรียนจะต้องสังเกตตัวอย่างทั้ง 2 ชุด และคิดหาคุณสมบัติร่วมและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เทคนิควิธีนี้ สามารถช่วยให้ผู้เรียนสร้างมโนทัศน์ได้เร็ว แต่ใช้กระบวนการคิดน้อย
2. เสนอข้อมูลที่ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนสลับกันไปจนครบ เทคนิค วิธีนี้จะช่วยสร้างมโนทัศน์ได้ช้ากว่าเทคนิคแรกแต่ได้ใช้กระบวนการคิดมากกว่า
3. เสนอข้อมูลที่ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะสอนอย่างละ 1 ข้อมูล แล้วเสนอ ข้อมูลที่เหลือทั้งหมดทีละข้อมูล โดยให้ผู้เรียนตอบว่าข้อมูลแต่ละข้อมูลที่เหลือนั้นใช่หรือไม่ใช่ตัวอย่างที่ จะสอน เมื่อผู้เรียนตอบ ผู้สอนจะเฉลยว่าผู้เรียนตอบถูกหรือผิด วิธีนี้ผู้เรียนจะได้ใช้กระบวนการคิดใน การทดสอบสมมติฐานของตนไปทีละขั้นตอน
4. เสนอข้อมูลที่ใช่และไม่ใช่ตัวอย่างสิ่งที่จะสอนอย่างละ 1 ข้อมูล แล้วให้ผู้เรียน ช่วยกันยกตัวอย่างข้อมูลที่ผู้เรียนคิดว่าใช่ตัวอย่างของสิ่งที่จะสอน โดยผู้สอนจะเป็นผู้ตอบว่าใช่หรือ ไม่ใช่วิธีนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสคิดมากขึ้นอีก
ขั้นที่ 4 ให้ผู้เรียนบอกคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งที่ต้องการสอน
จากกิจกรรมที่ผ่านมาในขั้นต้นๆ ผู้เรียนจะต้องพยายามหาคุณสมบัติเฉพาะของ ตัวอย่างที่ใช่และไม่ใช่สิ่งที่ผู้สอนต้องการสอนและทดสอบคําตอบของตน หากคําตอบของตนผิด ผู้เรียน ก็จะต้องหาคําตอบใหม่ ซึ่งก็หมายความว่าต้องเปลี่ยนสมมติฐานที่เป็นของคําตอบเดิม ด้วยวิธีนี้ผู้เรียนจะ ค่อยๆ สร้างความคิดรวบยอดของสิ่งนั้นขึ้นมา ซึ่งก็มาจากคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งนั้นนั่นเอง
ขั้นที่ 5 ให้ผู้เรียนสรุปและให้คําจํากัดความของสิ่งที่ต้องการสอน เมื่อผู้เรียนได้ รายการของคุณสมบัติเฉพาะของสิ่งที่ต้องการสอนแล้ว ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันเรียบเรียงให้เป็นคํานิยาม หรือคําจํากัดความ
ขั้นที่ 6 ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายร่วมกันถึงวิธีการที่ผู้เรียนใช้ในการหาคําตอบให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการคิดของตัวเอง
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
เนื่องจากผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ จากการคิด วิเคราะห์ และตัวอย่างที่ หลากหลาย ดังนั้นผลที่ผู้เรียนจะได้รับโดยตรงคือ จะเกิดความเข้าใจในมโนทัศน์นั้น และได้เรียนรู้ทักษะ การใช้มโนทัศน์ ซึ่งสามารถนําไปใช้ในการทําความเข้าใจมโนทัศน์อื่นๆ ต่อไปได้ รวมทั้งช่วยพัฒนา ทักษะการใช้เหตุผลโดยการอุปนัย (inductive reasoning) อีกด้วย
1.รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne's Instructional Model)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
กานเย่ (Gagne, 1985 : 70 - 90) ได้พัฒนาทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Conditions of Learning) ซึ่งมี 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้และทฤษฎีการจัดการเรียนการสอน ทฤษฎีการเรียนรู้ ของกานเยอธิบายว่า ปรากฏการณ์การเรียนรู้มีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ
1. ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งมีอยู่ 5 ประเภท คือ ทักษะทางปัญญา (intellectual skills) ซึ่งประกอบด้วยการจําแนกแยกแยะ การสร้างความคิดรวบยอด การ สร้างกฎ การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง ความสามารถด้านต่อไปคือ กลวิธีในการเรียนรู้ (cognitive strategy) ภาษาหรือคําพูด (verbal information) ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) และเจตคติ(attitudes)
2. กระบวนการเรียนรู้และการจดจําของมนุษย์ มนุษย์มีกระบวนการจัดการกับ ข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และขณะที่กระบวนการจัดกระทําข้อมูลภายใน สมองกําลังเกิดขึ้น เหตุการณ์ภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการเรียนรู้ที่ เกิดขึ้นภายในได้ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน การ์เย่จึงได้สรุปแนะว่า ควรมีการจัดสภาพการเรียน การสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท ซึ่งมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกัน และส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง โดยจัดสภาพการณ์ภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของ ผู้เรียน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ ได้อย่างดี รวดเร็ว และสามารถ จดจําสิ่งที่เรียนได้นาน
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
การเรียนการสอนตามรูปแบบของกานเย ประกอบด้วยการดําเนินการเป็นลําดับ ขั้นตอนรวม 9 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 กระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนสามารถรับ
สิ่งเร้า หรือสิ่งที่จะเรียนรู้ได้
ขั้นที่ 2 การแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบ เป็นการช่วยให้ผู้เรียน ได้รับรู้ความคาดหวัง
ขั้นที่ 3 การกระตุ้นให้ระลึกถึงความรู้เดิม เป็นการช่วยให้ผู้เรียนดึงข้อมูลเดิมที่อยู่ ในหน่วยความจําระยะยาวให้มาอยู่หน่วยความจําเพื่อการใช้งาน (Working memory) ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียน เกิดความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นที่ 5 การให้แนวการเรียนรู้ หรือการจัดระบบข้อมูลให้มีความหมาย เพื่อช่วยให้ ผู้เรียนสามารถทําความเข้าใจกับสาระที่เรียนได้ง่ายและเร็วขึ้น
ขั้นที่ 6 การกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความสามารถ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาส ตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสาระที่เรียน ซึ่งจะช่วยให้ทราบถึงการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน
ขั้นที่ 7 การให้ข้อมูลป้อนกลับ เป็นการให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียน และข้อมูลที่ เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน
ขั้นที่ 2 การประเมินผลการแสดงออกของผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าตนเอง สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้มากน้อยเพียงใด
ขั้นที่ 9 การเสริมสร้างความคงทนและการถ่ายโอนการเรียนรู้โดยการให้โอกาส ผู้เรียนได้มีการฝึกฝนอย่างเพียงพอและในสถานการณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ขึ้น และสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ไปสู่สถานการณ์อื่นๆ ได้
ง.ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
เนื่องจากการเรียนการสอนตามรูปแบบนี้ จัดขึ้นให้ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และจดจําของมนุษย์ ดังนั้น ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้สาระที่นําเสนอได้อย่างดี รวดเร็ว และจดจําสิ่งที่ เรียนรู้ได้นาน นอกจากนั้นผู้เรียนยังได้เพิ่มพูนทักษะในการจัดระบบข้อมูล สร้างความหมายของข้อมูล รวมทั้งการแสดงความสามารถของตนด้วย
1.รูปแบบการเรียนการสอน โดยการนําเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า (Advance Organizer Model)
ก. ทฤษฎี หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
จอยส์และวีล (Joyce and Well, 1996 : 295  278) พัฒนารูปแบบนี้ขึ้น โดย แนวคิดของออซูเบล (Ausubel) เกี่ยวกับการนําเสนอมโนทัศน์ล่วงหน้า (Advanced Organizer) เพื่อการ เรียนรู้อย่างมีความหมาย (meaningful verbal learning) ออซูเบลเชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายเมื่อสิ่งที่ เรียนรู้สามารถเชื่อมโยงกับความรู้เดิมของผู้เรียน ดังนั้นในการสอนสิ่งใหม่ สาระความรู้ใหม่ ผู้สอนควร วิเคราะห์หาความคิดรวบยอดย่อยๆ ของสาระที่จะนําเสนอ จัดทําผังโครงสร้างของความคิดรวบยอด
แล้ววิเคราะห์หามโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดที่กว้างครอบคลุมความคิดรอบยอดย่อยๆ ที่ สอน หากครูนําเสนอมโนทัศน์ที่กว้างดังกล่าวแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระใหม่ ขณะที่ผู้เรียนกําลัง

เรียนรู้สาระใหม่ ผู้สอนจะสามารถนําสาระใหม่นั้นไปเกาะเกี่ยวเชื่อมโยงกับมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้ ล่วงหน้าแล้ว ทําให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายแก่ผู้เรียน
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ได้เรียนรู้เนื้อหาสาระ ข้อมูลต่างๆ อย่างมีความหมาย
ค. กระบวนการเรียนการสอน
ขั้นที่ 1 การจัดเตรียมโนทัศน์กว้าง
ครูจัดเตรียมมโนทัศน์กว้าง โดยการวิเคราะห์หามโนทัศน์ที่กว้าง และครอบคลุม ความคิดรวบยอดของเนื้อหาสาระใหม่ทั้งหมด มโนทัศน์ที่กว้างนี้ จะไม่ใช่สิ่งเดียวกับ มโนทัศน์ของ สาระใหม่ที่จะสอน แต่เป็นมโนทัศน์ในระดับที่เหนือขึ้นไป หรือสูงกว่า ซึ่งจะมีลักษณะเป็นนามธรรม มากกว่า ปกติมันจะเป็นมโนทัศน์ของวิชานั้นหรือสายวิชานั้น การนําเสนอมโนทัศน์กว้างนี้ล่วงหน้าก่อน การสอน จะเป็นเหมือนการ “preview” บทเรียน ซึ่งจะเป็นคนละอย่างกับ “overview” หรือการให้ดู ภาพรวมของสิ่งที่จะสอน การนําเสนอภาพรวมของสิ่งที่จะสอน การทบทวนความรู้เดิม การซักถาม ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน การบอกวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน เหล่านี้ ไม่นับว่าเป็น “advance organizer” ซึ่งจะต้องมีลักษณะที่กว้าง ครอบคลุม และมีความเป็น นามธรรมอยู่ในระดับสูงกว่าสิ่งที่จะสอน (higher level of abstraction)
ขั้นที่ 2 การนําเสนอมโนทัศน์กว้าง 1.ผู้สอนชี้แจงวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ผู้สอนนําเสนอมโนทัศน์กว้าง ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การบรรยายสั้นๆ แสดง แผนผังมโนทัศน์ ยกตัวอย่าง หรือใช้การเปรียบเทียบ เป็นต้น
ขั้นที่ 3 การนําเสนอเนื้อหาสาระใหม่ของบทเรียน
ผู้นําเสนอเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ ตามปกติ แต่ ในการนําเสนอ ผู้สอนควรกล่าวเชื่อมโยงกับมโนทัศน์ที่ให้ล่วงหน้าไว้เป็นระยะๆ
ขั้นที่ 4 การจัดโครงสร้างความรู้
ผู้สอนส่งเสริมกระบวนการจัดโครงสร้างความรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ส่งเสริมการผสมผสานความรู้ กระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวในการเรียนรู้ และทําความกระจ่างในสิ่งที่เรียนรู้ โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น
1. อธิบายภาพรวมของเรื่องที่เรียน 2. สรุปลักษณะสําคัญของเรื่อง 3. บอกหรือเขียนคํานิยามที่กะทัดรัดชัดเจน 4. บอกความแตกต่างของสาระในแง่มุมต่างๆ
5. อธิบายว่าเนื้อหาสาระที่เรียน สนับสนุนหรือส่งเสริมมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้ ล่วงหน้าอย่างไร

6. อธิบามายความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาสาระใหม่กับมโนทัศน์กว้างที่ให้ไว้ล่วงหน้า
7. ยกตัวอย่างเพิ่มเติมจากสิ่งที่เรียน 8. อธิบายแก่นสําคัญของสาระที่เรียนโดยใช้คําพูดของตัวเอง
9. วิเคราะห์สาระในแง่มุมต่างๆ
 ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผลโดยตรงที่ผู้เรียนจะได้รับก็คือเกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาสาระและข้อมูลของ บทเรียนอย่างมีความหมาย เกิดความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียนและสามารถจัดโครงสร้าง ความรู้ของ ตนเองได้ นอกจากนั้นยังได้พัฒนาทักษะและอุปนิสัยในการคิด และเพิ่มพูนความใฝ่รู้
1.4 รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจํา (Memory Model)
ก. ทฤษฎี หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
รูปแบบนี้พัฒนาขึ้นโดย จอยส์และวีล (Joyce & Weil,1996 : 209 - 231) โดย อาศัยหลัก 6 ประการ คือ
1. การตระหนักรู้ (awareness) ซึ่งกล่าวว่า การที่บุคคลจะจดจําสิ่งใดได้ดีนั้น จะต้องเริ่มจากการรับรู้สิ่งนั้น หรือการสังเกตสิ่งนั้นอย่างตั้งใจ
2. การเชื่อมโยง (association) กับสิ่งที่รู้แล้วหรือจําได้
3. ระบบการเชื่อมโยง (link system) คือระบบในการเชื่อมความคิดหลายความคิด เข้าด้วยกันในลักษณะที่ความคิดหนึ่งจะไปกระตุ้นให้สามารถจําอีกความคิดหนึ่งได้
4. การเชื่อมโยงที่น่าขบขัน (ridiculous association) การเชื่อมโยงที่จะช่วยให้ บุคคลจดจําได้ดีนั้น มักจะเป็นสิ่งที่แปลกไปจากปกติธรรมดา การเชื่อมโยงในลักษณะที่แปลก เป็นไป ไม่ได้ ชวนให้ขบขัน มักจะประทับในความทรงจําของบุคคลเป็นเวลานาน
5. ระบบการใช้คําทดแทน
6. การใช้คําสําคัญ (key Word) ได้แก่ การใช้คํา อักษรหรือพยางค์เพียงตัวเดียว เพื่อช่วยกระตุ้นให้จําสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวกันได้
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
รูปแบบนี้มีวัตถุประสงค์ช่วยให้ผู้เรียนจดจําเนื้อหาสาระที่เรียนรู้ได้ดีและได้นาน และได้เรียนรู้กลวิธีการจํา ซึ่งสามารถนําไปใช้ในการเรียนรู้สาระอื่นๆ ได้อีก
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
ในการเรียนการสอนเนื้อหาสาระใดๆ ผู้สอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนจดจําเนื้อหา สาระนั้นได้ดีและนานโดยดําเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 การสังเกตหรือศึกษาสาระอย่างตั้งใจ
ผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนตระหนักรู้ในสาระที่เรียน โดยการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น ให้สีดเส้นใต้คําประเด็นที่สําคัญ ให้ตั้งคําถามจากเรื่องที่อ่าน ให้หาคําตอบของคําถามต่างๆ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 การสร้างความเชื่อมโยง
เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาสาระที่ต้องการเรียนรู้แล้ว ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงเนื้อหาส่วนต่างๆ ที่ต้องการจดจํากับสิ่งที่ตนคุ้นเคย เช่น กับคํา ภาพ หรือความคิดต่างๆ (ตัวอย่างเช่น เด็กจําไม่ได้ว่าค่าย บางระจัน อยู่จังหวัดอะไร จึงโยงความคิดว่า ชาวบ้านบางระจันเป็นคนกล้าหาญ สัตว์ที่ถือว่าเก่งกล้า คือ สิงโต บางระจันจึงอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี) หรือให้หาหรือคิดคําสําคัญ ที่สามารถกระตุ้นความจําในข้อมูล อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน เช่น สูตร 4 M หรือทดแทนคําที่ไม่คุ้นหรือยากด้วยคํา ภาพ หรือความหมายอื่น หรือ การใช้คําเชื่อมโยงความคิดเข้าด้วยกัน
ขั้นที่ 3 การใช้จินตนาการ
เพื่อให้จดจําสาระได้ดีขึ้น ให้ผู้เรียนใช้เทคนิคการเชื่อมโยงสาระต่างๆ ให้เห็นเป็น ภาพที่น่าขบขัน เกินความเป็นจริง
ขั้นที่ 4 การใช้เทคนิคต่างๆ ที่ทําไว้ข้างต้น ในการทบทวนความรู้และเนื้อหาสาระ ต่างๆ จนกระทั่งจดจําได้
ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
การเรียนโดยใช้เทคนิคช่วยความจําต่างๆ ของรูปแบบ นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียน สามารถจดจําเนื้อหาสาระต่างๆ ที่เรียนได้ดีและได้นานแล้ว ยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้กลวิธีการจํา ซึ่งสามารถนําไปใช้ในการเรียนรู้สาระอื่นๆ ได้อีกมาก
1.รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer Instructional Model)
ก. ทฤษฎีหลักการ/แนวคิดของรูปแบบ
โจนส์และคณะ (Jones et al., 1989 : 20  25) คล้าก (Clarke, 1991 : 526  534) จอยส์และคณะ (Joyce et al., 1992 : 159 - 165) ได้พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกขึ้น โดยใช้ แนวคิดทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory) ซึ่งกล่าวว่า กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากองค์ประกอบสําคัญส่วนด้วยกัน ได้แก่ ความจําข้อมูล (information storage) กระบวนการทางปัญญา (cognitive processes) และ เมตาคอคนชัน (metacognition) ความจํา ข้อมูลประกอบด้วย ความจําจากความรู้สึกสัมผัส (sensory memory) ซึ่งเป็นความจําที่เกิดขึ้นหลังจากการ ตีความสิ่งเร้าที่รับรู้มาแล้ว และจะเก็บข้อมูลไว้ได้ชั่วคราวประมาณ 20 วินาที ความจําประเภทนี้ทําหน้าที่ ในการคิด (mental operation) ส่วนความจําระยะยาว (long term memory) เป็นความจําที่มีความคงทน มี ขนาดความจุไม่จํากัด สามารถคงอยู่เป็นเวลานาน เมื่อต้องการใช้จะสามารถเรียกคืนได้ สิ่งที่อยู่ในความจำระยะยาวมี 2 ลักษณะ คือ ความจําเหตุการณ์ (episodic memory) และความจําความหมาย
(semantic memory) เกี่ยวกับข้อเท็จจริงมโนทัศน์ กฎ หลักการต่างๆ องค์ประกอบด้านความจําข้อมูลนี้จะ มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับกระบวนการทางปัญญาของบุคคลนั้นซึ่งประกอบด้วย
ก. การใส่ใจ (attention) หากบุคคลมีความใส่ใจในข้อมูลที่รับเข้ามาทางการสัมผัส (sensory memory) ข้อมูลนั้นก็จะถูกนําเข้าไปสู่ความจําระยะสั้น (short term memory) ต่อไป หากไม่ได้ รับการใส่ใจ ข้อมูลนั้นก็จะเลือนหายไปอย่างรวดเร็ว
ข. การรับรู้ (perception) เมื่อบุคคลใส่ใจในข้อมูลใดที่รับเข้ามาทางประสาท สัมผัส บุคคลนั้นก็จะรับรู้ข้อมูลนั้น และนําข้อมูลนี้เข้าสู่ความจําระยะสั้นต่อไป ข้อมูลที่รับรู้นี้ จะเป็น ความจริงตามการรับรู้ (perceived reality) ของบุคคลนั้น ซึ่งอาจไม่ใช่ความจริงเชิงปรนัย (objective reality) เนื่องจากเป็นความจริงที่ผ่านการตีความจากบุคคลนั้นมาแล้ว
ค. การทําซ้ํา (rehearsal) หากบุคคลมีกระบวนการรักษาข้อมูล โดยการทบทวนซ้ํา แล้วซ้ําอีก ข้อมูลนั้นก็ยังคงถูกเก็บรักษาไว้ในความปฏิบัติการ
ง. การเข้ารหัส (encoding) หากบุคคลมีกระบวนการสร้างตัวแทนทางความคิด (mental representation) เกี่ยวกับข้อมูลนั้น โดยมีการนําข้อมูลนั้นเข้าสู่ความจําระยะยาวและเชื่อมโยงเข้า กับสิ่งที่มีอยู่แล้วในความจําระยะยาว การเรียนรู้อย่างมีความหมายก็จะเกิดขึ้น
จ. การเรียกคืน (retrieval) การเรียกคืนข้อมูลที่จําไว้ในความจําระยะยาว เพื่อนํา ออกมาใช้ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการเข้ารหัส หากการเข้ารหัสทําให้เกิดการเก็บจําได้ดี มีประสิทธิภาพ การเรียกคืนก็จะมีประสิทธิภาพตามไปด้วย
ด้วยหลักการดังกล่าว การเรียนรู้จึงเป็นการสร้างความรู้ของบุคคล ซึ่งต้องใช้ กระบวนการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 4ขั้นตอน ได้แก่ 1. การเลือกรับข้อมูลที่สัมพันธ์กัน (selecting relevant information) และ 2. การจัดระเบียบข้อมูลเข้าสู่โครงสร้าง (coherent structure) รวมทั้ง 3. การบูรณาการข้อมูล (integrating) และ 4. การเข้ารหัส (encoding) ข้อมูลการเรียนรู้ เพื่อให้คงอยู่ใน ความจําระยะยาว และสามารถเรียกคืนมาใช้ได้โดยง่าย (Mayer, 1984 : 30  33) ด้วยเหตุนี้ การให้ผู้เรียน มีโอกาสเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับโครงสร้างความรู้เดิมๆ และนําความรู้ความเข้าใจมาเข้ารหัสหรือสร้าง ตัวแทนทางความคิดที่มีความหมายต่อตนเองขึ้น จะส่งผลให้การเรียนรู้นั้นคงอยู่ในความจําระยะยาว และ สามารถเรียกคืนมา
ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมและสร้างความหมายและ ามเข้าใจในเนื้อหาสาระหรือข้อมูลที่เรียนรู้ และจัดระเบียบข้อมูลที่เรียนรู้ด้วยผังกราฟิก ซึ่งจะช่วยให้ง่ายแก่การจดจํา
ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก มีหลายรูปแบบ ในที่นี้จะนําเสนอไว้ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของ โจนส์และคณะ (1989 : 20-25) ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอนที่สําคัญๆ 5 ขั้นตอนด้วยกันดังนี้
1.1. ผู้สอนเสนอตัวอย่างการจัดข้อมูลด้วยผังกราฟิกที่เหมาะสมกับเนื้อหาและ วัตถุประสงค์
1.2. ผู้สอนแสดงวิธีการสร้างผังกราฟิก 1.3. ผู้สอนชี้แจงเหตุผลของการใช้ผังกราฟิกนั้นและอธิบายวิธีการใช้
1.4. ผู้เรียนฝึกการสร้างและใช้ผังกราฟิกในการทําความเข้าใจเนื้อหาเป็น รายบุคคล
1.5. ผู้เรียนเข้ากลุ่มและนําเสนอผังกราฟิกของตนแลกเปลี่ยนกัน
2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของคล้าก (Clark, 1991 : 526 - 534) ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอนที่สําคัญ ๆ ดังนี้
ก. ขั้นก่อนสอน
2.1 ผู้สอนพิจารณาลักษณะของเนื้อหาที่จะสอนสาระนั้นและวัตถุประสงค์ ของการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ
2.2 ผู้สอนพิจารณาและคิดหาผังกราฟิกหรือวิธีหรือระบบในการจัดระเบียบ เนื้อหาสาระนั้นๆ
2.3 ผู้สอนเลือกตั้งกราฟิก หรือวิธีการจัดระเบียบเนื้อหาที่เหมาะสมที่สุด
2.4 ผู้สอนคาดคะเนปัญหาที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้เรียนในการใช้ผังกราฟิกนั้น ข. ขั้นสอน
2.1 ผู้สอนเสนอผังกราฟิกที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาสาระแก่ผู้เรียน
2.2 ผู้เรียนทําความเข้าใจเนื้อหาสาระและนําเนื้อหาสาระใส่ลงในผังกราฟิก ตามความเข้าใจของตน
2.3 ผู้สอนซักถาม แก้ไขความเข้าใจผิดของผู้เรียนหรือขยายความเพิ่มเติม
2.4 ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดเพิ่มเติม โดยนําเสนอปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ เนื้อหา แล้วให้ผู้เรียนใช้ผังกราฟิกเป็นกรอบในการคิดแก้ปัญหา
2.5 ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน
3. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของจอยส์และคณะ (Joyce et al.1992 : 159 - 161)
จอยส์และคณะ นํารูปแบบการเรียนการสอนของคล้ากมาปรับใช้โดยเพิ่มเติม ขั้นตอนเป็น 8 ขั้น ดังนี้
3.1 ผู้สอนชี้แจงจุดมุ่งหมายของบทเรียน
3.2 ผู้สอนนําผังกราฟิกที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา
3.ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิม เพื่อเตรียมสร้างความสัมพันธ์ กับความรู้ใหม่
3.ผู้สอนเสนอเนื้อหาสาระที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
3.ผู้สอนเชื่อมโยงเนื้อหาสาระที่เรียนกับผังกราฟิกและให้ผู้เรียนนําเนื้อหา สาระใส่ลงในผังกราฟิกตามความเข้าใจของตน
3.ผู้สอนให้ความรู้เชิงกระบวนการ โดยชี้แจงเหตุผลในการใช้ผังกราฟิก และ วิธีใช้ผังกราฟิก
3.ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายผลการใช้ผังกราฟิกกับเนื้อหา
3.ผู้สอนซักถาม ปรับความเข้าใจและขยายความเข้าใจให้ผู้เรียนเกิดความ เข้าใจกระจ่างชัด
4. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิกของสุปรียา ตันสกุล (2540 : 40)
สุปรียา ตันสกุล ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ผลของการใช้รูปแบบการสอนแบบการจัด ข้อมูลด้วยแผนภาพ (Graphic Organizers) ที่มีต่อสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนและความสามารถในการ แก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลผลการวิจัยพบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนและความสามารถทางการ แก้ปัญหาสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 รูปแบบการเรียนการ สอนดังกล่าวประกอบด้วยขั้นตอนสําคัญ 7 ขั้นตอน ดังนี้
4.การทบทวนความรู้เดิม
4.การชี้แจงวัตถุประสงค์ ลักษณะของบทเรียน ความรู้ที่คาดหวังให้เกิดแก่ ผู้เรียน
4.การกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงความรู้เดิม เพื่อเตรียมสร้างความสัมพันธ์ กับสิ่งที่เรียนและการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพ
4.การนําเสนอตัวอย่างการจัดเนื้อหาสาระด้วยแผนภาพที่เหมาะสมกับ ลักษณะของเนื้อหา ความรู้ที่คาดหวัง
4.ผู้เรียนรายบุคคลทําความเข้าใจเนื้อหาและฝึกใช้แผนภาพ
4.การนําเสนอปัญหาให้ผู้เรียนใช้แผนภาพเป็นกรอบในการแก้ปัญหา
4.การทําความเข้าให้กระจ่างชัด
 ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ
ผู้เรียนจะมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียน และจดจําสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีในการเรียนรู้ต่างๆ นอกจากนั้นยังได้เรียนรู้การใช้กราฟิกในการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งผู้เรียนสามารถนําไปใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาสาระอื่นๆ ได้อีกมาก

บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การจัดการการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช  ผู้จั...